ชื่ออื่น : ขี้กาดง (สระบุรี), ผักแคบป่า (น่าน), มะนอยจา (เหนือ), มะนอยหก, มะนอยหกฟ้า (แม่ฮ่อนสอน)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz.
ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE
เป็นไม้เถาเลื้อย มีมือเกาะ เหมือนมะระขี้นก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แยกเพศแต่อยู่ต้นเดียวกับ
ดอก : กลีบดอกมี 5 กลีบ ฐานเชื่อมต่อกัน กลีบรองดอกเชื่อติดกันเป็นหลอดยาว ออกตามง่ามใบ
ผล : ขนาดเท่าผลสมอไทย หัวท้ายแหลม สันสีอ่อน 10 สันตามแนวหัวท้าย เมื่อสุกสีแดงสด ผลแก่และผลสุกมีพิษ ห้ามรับประทาน การเก็บ จะเก็บลูกอ่อนมาตากแห้ง
สรรพคุณทางสมุนไพร :
- ใบ รสขม ตำคั้นเอาน้ำหยอดตา แก้ตาอักเสบ รับประทานแก้พิษของลูกสุก แก้พิษบาดทะยักกำเริบเพราะรักษาผิด
- ลูก ใช้ลูกอ่อนตากแห้ง รสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ ดีเดือด คลั่งเพ้อ เจริญอาหาร ทำโลหิตให้เย็น ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก แก้ไข้รักษามดลูกหลังจากการแท้ง หรือ คลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบถอนพิษผิดสำแดง แก้พิษผลไม้บางชนิด
- ราก รสขม ต้มรับประทาน แก้ไข้ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ดับพิษโลหิตเจริญอาหาร บดผสมน้ำร้อน ทาถูนวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอ่อนล้า
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
นิเวศวิทยา : เกิดอยู่ตามที่รกร้างใบป่าเขาทั่วไป