ขอบชะนาง

ชื่ออื่น: ขอบชะนางแดง, ขอบชะนางขาว, หนอนตายขาว, หนอนตายแดง, หญ้าหนอนตาย, หญ้ามูกมาย, ตาสียาเก้อ, ตาสีเพาะเกล (แม่ฮ่องสอน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pouzolzia pentandra Benn.

ชื่อวงศ์: URTICACEAE

เป็นพืชจำพวกหญ้าเลื้อยแผ่ไปตามดิน ยอดตั้งขึ้นสูงประมาณ 1-2 ฟุต ลำต้นเท่าธูป มี 2 ชนิด คือ ขอบชะนางแดง และขอบชะนางขาว ใบเดี่ยวออกสลับกันคนละข้าง

  • ขอบชะนางแดง ใบรูปหอกปลายแหลม หน้าใบสีเขียวอมแดง ท้องใบสีแดงคล้ำ ลำต้นสีแดงคล้ำแซมเขียว
  • ขอบชะนางขาว ใบรูปไข่ปลายแหลม สีเขียวอ่อน ลำต้นสีเขียว มีขนตามต้นและใบ

ทั้งสองชนิด ดอกช่อออกเป็นกระจุกอยู่ตามซอกใบ ขอบชะนางแดง ดอกสีแดง ขอบชะนางขาว ดอกสีเขียวอมเหลือง

นิเวศวิทยา: เกิดตามที่ลุ่มชื้นและริมลำธารในป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณทั่วไป

การขายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ

  • เมื่อนำต้นสดมาตำใส่ไว้บนปากไหปลาร้าหนอนจะตายหมด
  • ต้น รสเมาเบื่อร้อน ขับโลหิตระดู ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ แก้โรคหนองใน ขับเลือดลม กระจายโลหิต แก้ริดสีดวงผอมแห้ง ฆ่าหนอน ฆ่าแมลง แก้โรคผิวหนัง
  • ใบ รสเมาเบื่อร้อน ตำทาแก้กลาก ต้มน้ำอาบหลังคลอด แก้ปวดเมื่อย
  • เปลือกต้น รสเมาเบื่อร้อน ดับพิษในกระดูก ดับพิษในเส้นเอ็น ฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน

Comments are closed.