ชื่ออื่น: ตีนตั่ง, ตีนตั่งตัวผู้ (เหนือ), กรูด (สุราษฎร์), งวงซุ่ม, งวงสุ่ม, ฮวงสุ่ม, งวงสุ่มขาว (อีสาน), เมี่ยงชะนวนไฟ, สังขยาขาว (สุโขทัย), ดอกโรค (เลย), ตะกรูด (นครศรีฯ), เถาวัลย์นวล (ราชบุรี), ประโยค (ตราด), มันแดง (กระบี่), หน่วยสุด (ใต้)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Calycopteris Floribunda Lamk.
ชื่อวงศ์: COMBRETACEAE
เป็นไม้จำพวกเถาพุ่มเลี้อยขนาดกลาง
ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายแหลม โคนมน เนื้อคล้ายกระดาษ ท้องใบมีขนสีน้ำตาลอ่อนออกตรงข้ามกัน กิ่งอ่อนมีขน
ดอก: ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบรูปหอกปลายแหลม 5 แฉก สีเขียวอมเหลือง
ผล: ผลรูปรี ปลายผลมีกลีบรองดอก 5 กลีบ มีขนมาก
นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะทั่วไป
การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ
- ใบ รสเฝื่อน เจริญอาหาร สมาน ขับพยาธิ ระบายท้อง แก้ปวดท้อง จุกเสียด แก้บิด แก้ไข้ป่า ทาแผลเรื้อรัง
- ราก รสเฝื่อน แก้งูพิษ