ตะโกนา (Ebony)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Diospyros rhodocalyx Kurz

ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีดำ ผิวไม่เรียบ แตกเป็นสะเก็ดร่องหนาๆ

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับป้อม เรียยงสลับกัน ใบบาง สีเขียวเข้ม โคนใบสอบ ปลายใบโค้งมน

ดอก : แยกเพศอยู่ต่างกัน มีทั้งเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อเล็กๆตามง่ามหรือซอกใบ ช่อหนึ่งมี 3 ดอก ส่วนดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว ออกตามง่ามหรือซอกใบเช่นเดียวกัน

ผล : ผลอ่อน รูปทรงกลมเล็กๆ มีขนสีน้ำตาล แดงคลุม เมื่อผลแก่ขนจะค่อยๆหลุดร่วงไป

วิธีการปลูกและดูแลรักษา : ตะโกนาขึ้นได้ดีในดินทุกสภาพและทุกสภาวะอากาศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่แห้งแล้ง จึงแข็งแรงทนทานกว่าต้นไม่ชนิดอื่น ปลูกเลี้ยงง่าย ไม่มีปัญหาเรื่องโรคหรือศัตรูพืช

ชื่อวงศ์ : Ebanaceae

ประโยชน์ : ผลดิบมียาง นำมาย้อมแหอวนได้ ต้นตะโกนา ทำไม้ดัดและบอนไซ ใช้ประดับสถานที่ต่างๆให้สวยงาม

สรรพคุณทางสมุนไพร : เปลือกต้นและเนื้อไม้ นำมาต้มเอาแต่น้ำผสมเกลือ ใช้อมแก้ปวดฟันรำมะนาด นอกจากนี้ยังนำไปเผาเป็นถ่าน มีคุณสมบัติเป็นด่าง นำไปแช่น้ำรับประทาน รสเฝื่อน ฝาดขม ช่วยบำรุงธาตุ ย่อยอาหาร ทำให้เกิดกำลัง บำรุงความกำหนัด และหากนำเปลือกต้นผสมหัวหญ้า แห้วหมู เมล็ดข่อย เม็ดพริกไทยแห้ง เถาบอระเพ็ด อย่างละเท่าๆกัน นำมาดองเหล้าหรือต้มกินเป็นยาอายุวัฒนะได้ เปลือกผล เผาเป็นถ่านจะให้รสเย็น ใช้ขับระดู ขับปัสสาวะ ผลหรือลูก รสฝาดหวาน รับประทานได้ แก้ท้องร่วง แก้ตกเลือด มวนท้อง ขับพยาธิและแก้กษัย

ต้นไม้สัญลักษณ์ : ตะโกนาเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนยาว ทนทานทุกสภาพดินฟ้าอากาศและความแห้งแล้ง คนไทยโบราณจึงนิยมปลูกและตัดแต่งเป็นพุ่มไว้ประดับบ้านหรือสวนในทางทิศใต้ เพราะเชื่อว่าบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีความอดทน เข้มแข็ง และอายุยืนเหมือนต้นตะโกนา นอกจากนี้เปลือกลำต้นของตะโกนามีสำดำมาก คนไทยโบราณจึงมีคำพูดเปรียบเปรยถึงความดำว่า “ดำเหมือนตอตะโก” หรือ “ดำเป็นตอตะโก”

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ใส่ความเห็น

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

คุณอาจจะใช้ tag หรือ attribute ต่อไปนี้ของ HTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong> มาใช้ได้