ตำลึง


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt

ชื่ออื่น คนเมืองเหนือเรียก ผักแคบ กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอนเรียก แคเค๊าะ บางท้องถิ่นเรียก ผักสี่บาท

ตำลึงเป็นไม้เลื้อย มีเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว สีเขียว ลักษณะใบค่อนข้างกลม มีเหลี่ยมหักเป็น 5 มุม เรียงสลับกัน

ใบ : ใบเว้าลึกเป็นแฉกสวยงามทีเดียว ความกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร มีมือเกาะเป็นเส้นยาว เพื่อพยุงตัวให้มีหลัก เพื่อจะเลี้อยไปตามต้นไม้ต่างๆ หรือสิ่งอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียง มือเกี่ยวเหนียวๆ จะงอกออกตามข้อของลำต้น ตำลึงออกดอกเป็นสีขาวรูปคล้ายกับระฆัง

ผล : เมื่ออ่อนอยู่จะเป็นสีเขียวมีลายสีขาวนวล คล้ายกับผลแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อผลแก่สีจะออกเป็นสีแดง มีรสออกขม ต้นตำลึงมักขึ้นตามริมรั้ว ข้างถนน ป่าละเมาะ เจริญงอกงามได้ดีในดินทั่วไป

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ประโยชน์ : นำมาปรุงอาหารรับประทานได้ เช่น แกงจืดหมูบะช่อหรือหมูสับ

สรรพคุณทางสมุนไพร : เป็นยาช่วยลดน้ำตาลในเลือด

การขยายพันธุ์ : นำเมล็ดมาเพาะปลูกหรือนำเถาที่แก่กำลังเหมาะมาปักชำ ยาแก้แพ้ แก้คัน แก้อักเสบ จากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้ง เนื่องจากมีเอนไซม์อะไมเลส

ใส่ความเห็น

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

คุณอาจจะใช้ tag หรือ attribute ต่อไปนี้ของ HTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong> มาใช้ได้