ติ้วเกลี้ยง


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Bl.

ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)

ไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 30 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีเหลือง ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมปกคลุมห่าง ๆ

ใบ : รูปรืออกตรงข้ามกัน แผ่นใบบาง ยอดใบอ่อนมีสีแดงเรื่อ หลังผลัดใบจะผลิดอกเป็นกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่วงฤดูฝน

ดอก : กลีบดอกมี 5 กลีบ สีชมพูอมแดง มีเกสรเพศผู้จำนวนมากและกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลเมื่อแก่จะแตกออกเป็น 3 พูด

เมล็ด : มีปีกบาง ๆ

ประโยชน์ : ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ หรือใส่ในซ่าผักของชาวเหนือรสฝาดมัน มีมากในฤดูร้อน แต่เป็นคนละชนิดกับผักติ้วที่มีใบมันรสเปรี้ยว

สรรพคุณทางสมุนไพร : ด้านสมุนไพร ต้นและรากนำมาผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น ต้มน้ำดื่มแก้กระษัย และเป็นยาระบาย ใบและยอดอ่อนมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ เนื้อไม้ใช้ทำฟืน

การขยายพันธุ์ : ติ้วเกลี้ยงชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดดจัดชอบอากาศเย็น ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เป็นพืชที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จึงเหมาปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะให้ดอกสวย มีกลิ่นหอม

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในธรรมชาติพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้นทุกภาคของไทย

ใส่ความเห็น

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

คุณอาจจะใช้ tag หรือ attribute ต่อไปนี้ของ HTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong> มาใช้ได้