ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Crassocephalum crepidioides (Benth.) S. Moore
วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ฟังชื่อแล้วอาจข้าใจว่าเป็นพืชที่มีต้นใหญ่มาก แท้จริงแล้วเป็นไม้พุ่มล้มลุกที่สูง 50 – 100 ซม. ถ้าขึ้นในที่ชุ่มชื้นต้นจะอวบน้ำ นิยมบริโภคกันในภาคเหนือ เรียกกันว่า “ผักเผ็ดแม้ว” และภาคใต้เรียกว่า “หญ้าดอกฟุ้ง” มีตำนานที่เล่ากันว่า ผักชนิดนี้เป็นผักที่โปรดปรานกันมากของพ่อบ้านชาวพม่าจนต้องมีให้กินทุก มื้อ ถ้าวันไหนภรรยาไม่สามารถหามาให้ได้ก็จะอาละวาดทุบตีภรรยาด้วยความโกรธ ชาวพม่าจึงเรียกต้นนี้ว่า “พม่าตีเมีย”
ดอก : ช่อดอกออกที่ปลายยอด แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมากอัดกันแน่น เกสรเพศเมียมีส้มโผล่พ้นดอกเห็นเด่นชัด เมล็ดมีขนฟูที่ปลิวไปตามลมช่วยในการกระจายพันธุ์
ประโยชน์ : นิยมกินยอดอ่อนเป็นผักสดกับน้ำพริก อาหารรสจัด หรือผัดน้ำมัน มีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว และช่วยให้เจริญอาหาร สามารถเก็บกินได้ตลอดปี
การขยายพันธุ์ : ผักกาดช้างมักพบอยู่ตามแปลงปลูกผักของเกษตรกรที่มีแสงแดดส่งถึงตลอดวัน ถ้าขึ้นในที่ชุ่มชื้นจะกรอบอร่อย ถ้าอยู่ในที่แห้งแล้งต้นจะแคระแกร็นไม่น่ากิน ขยายพันธุ์ได้ง่าย เพียงเก็บเมล็ดแก่ที่แห้งมาโรยในพื้นที่ปลูกไม่นานก็จะได้ลิ้มชิมรส
นิเวศวิทยา : เป็นวัชพืชตามพื้นที่ลุ่มทั่วทุกภาคของไทย