ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris (L.) R.Br.
ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 40 เมตร ทุกส่วนที่มีชีวิตมีน้ำยางสีขาวขุ่น
ใบ : เดี่ยว เรียงเวียนเป็นวงรอบข้อ ใบรูปไข่กลับหรือรูปหอกกลับหนาเกลี้ยง เรียบเป็นมัน
ดอก : ออกเป็นช่อกระจุกขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกออกซ้อนกันเหมือนฉัตร กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเหลืองโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
ผล : เป็นฝักคู่ ฝักกลม ยาว 20-50 ซม. ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีขนปุย
คุณค่าทางภูมิสถาปัตยกรรม : เรือนยอดรูปไข่แผ่กว้างส่วนมากปลูกเป็นไม้ให้ร่มและไม้ประดับตามสวนและริมถนน ไม่ควรปลูกใกล้ที่พักอาศัยเนื่องจากดอกมีกลิ่นหอมแรง
ชื่อวงศ์ : Apocynaceae
สรรพคุณทางสมุนไพร : ราใช้เป็นยาขับลม เหลือต้นมีสารอัลคาลอยด์แก้บิด ไข้มาเลเรียนเบาหวาน ใบอ่อนชงน้ำดื่มแก้โครลักปิดลักเปิด ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ยางของต้นและใบรักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ
ต้นไม้สัญลักษณ์ : เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในเอเชียและแอฟริกาเขตร้อน พบขึ้นตามป่าผสมผลัดใบป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย