เนียมหูเสือ


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng.

ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE (LABIATAE)

เป็นไม้พุ่ม อายุหลายปี สูงประมาณ 30 ซม. ทุกส่วนอวบน้ำ เมื่อขยี้มีกลิ่นหอม และมีขนนุ่มปกคลุม

ใบ : รูปไข่ป้อม ออกตรงข้ามกัน ขอบใบจักฟันเลื่อย

ดอก : ช่อดอกออกที่ปลายยอด ชูตั้งขึ้น ดอกสีขาวอมม่วง ขนาดเล็ก โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด เมล็ดกลม สีน้ำตาลคล้ำ แต่ละผลมี 4 เมล็ด

ประโยชน์ : ยอดอ่อนกินสดกับซุบหน่อไม้ แจ่ว ลาบ ก้อย ช่วยดับกลิ่นคาวได้ดี และให้ฟอสฟอรัสสูง หรือใส่ในแกงจืดหมูสับก็อร่อยได้

สรรพคุณทางสมุนไพร : ใบนำมาต้มน้ำดื่มแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับน้ำคาวปลาให้หญิงหลังคลอด หรือคั้นน้ำใช้หยอดหูแก้หูหนวก ทาท้องเด็กแก้ปวดท้อง หรือนำใบมาขยี้สำหรับปิดแผลห้ามเลือด หรือผสมกับน้ำตาลกินเป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย แก้ไข้เรื้อรัง หอบหืด และโรคลมชัก หรือนำมาพอกศีรษะแก้ปวด ลดไข้ หรือดมดับกลิ่นปาก และด้วยใบนุ่ม ๆ ที่สวยงามมีกลิ่นหอม จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก

การขยายพันธุ์ : เนียมหูเสือเป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ชอบดินชุ่มชื้น ระบายน้ำดี แสงแดดครึ่งวัน ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง
นิเวศวิทยา : ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อนและทางตอนใต้ของแอฟริกา

ใส่ความเห็น

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

คุณอาจจะใช้ tag หรือ attribute ต่อไปนี้ของ HTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong> มาใช้ได้