ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Ficus maclellandii king
ไม่ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-25 เมตร เปลือกต้นสีเทาปนน้ำตาล เปลือกเรียบและมีช่องอากาศกระจายทั่วไป ทุกส่วนที่มีชีวิตมีน้ำนางสีขาวคล้ายน้ำนม
ใบ : เดี่ยวเรียงเวียน รูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายใบเรียวแหลมแผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม ปลายกิ่งมีหูใบเป็นติ่งแหลม
ดอก : ขนาดเล็ก แยกเพศ ติดอยู่ภายในฐานรองดอกที่มีรูปร่างคล้ายผล ไม่มีกลีบดอก ออกดอกเกือบตลอดปี
ผล : เป็นหน่วยผล เกิดตามซอกใบ รูปร่างค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 0.5-1 ซม. ผิวหน่วยผลมีขนสั้นๆ กระจายทั่วไป ผลสีเขียวและเปลี่ยนเป็นเหลืองและแดงเมื่อแก่ คุณค่าทาง
ภูมิสถาปัตยกรรม : เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นแผ่กว้าง มีรากอากาศห้อยย้อยตามกิ่งและลำต้น นิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาตามริมถนนและตามสวนสาธารณะมีปัญหาเรื่องรากชอนไชพื้น
ชื่อวงศ์ : Moraceae
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับและทำบอนไซ
สรรพคุณทางสมุนไพร : ราก แก้ปวด แก้ฝีพุพอง แก้นิ่ว, รากอากาศ แก้ขัดเบา ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย), เปลือกของลำต้น สมานแผล ท้องเดิน แก้บวม ทาแผลฟกช้ำ ดอก แก้ท้องเสีย แก้บวม, ผล แก้ท้องเสีย แก้ฝีพุพอง, ยาง ฆ่าพยาธิ ใส่บาดแผล แก้มะเร็ง
ต้นไม้สัญลักษณ์ : เป็นต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานคร และมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ และคนไทยเชื่อว่า ปลูกต้นไทรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข จนมีคำโบราณกล่าวว่า “ร่มโพธิ์ร่มไทร” นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันคุ้มครองภัยอันตรายทั้งปวงเพราะบางคนเชื่อว่าต้นไทรเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยพิทักษ์คุ้มครองปวงชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัยควรปลูกต้นไทรไว้ทางทิศตะวันตก และผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะเชื่อว่าการปลูกต้นไม้เพื่อเอาประโยชน์ทางใบให้ปลูกในวันอังคาร
การขยายพันธุ์ : ปักชำ และเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา : พบได้ในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าเขาหินปูนควรปลูกในที่แสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป