ถั่วคล้า (baybean,Beach bean)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canavalia rosea (sw.) DC.

ชือวงศ์ : PIPERACEAE

เป็นไม้เลื้อยที่พบทั่วไปในประเทศเขตร้อนทั่วโลก ในไทยพอตามชายทะเลทางภาคใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ในจังหวัดภูเก็ตมักเรียกว่า “ผักบุ้งเล” ส่วนจังหวัดตราดเรียก “ไก่เตี้ย”

ใบ : ประกอบมี 3 ใบย่อย สองใบด้านข้างรูปไข่เบี้ยว ใบกลางขนาดใหญ่

ดอก : ช่อดอกผลิจากซอกใบ ปลายยอดชูตั้งขึ้น ดอกรูปดอกถั่ว สีชมพู ผลิบานในช่วงฤดูฝน

ผล : เป็นฝักหนา ยาว 10 – 12 ซม. ปลายแหลมด้านหนึ่งเป็นสันนูนตามยาว ภายในมีเมล็ดแบน

ประโยชน์ : นิยมเก็บดอกอ่อนและฝักอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริก มีมากในฤดูร้อนและฤดูฝน ในต่างประเทศนำเมล็ดมาคั่วกินเป็นของว่าง

สรรพคุณทางสมุนไพร : ในต่างประเทศใช้รักษาการในช่องท้อง

การขยายพันธุ์ : ถั่วคล้าชอบดินร่วนระบายน้ำดี มีแสงแดดตลอดวัน ทนดินเค็ม และทนดินแฉะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

เต่าร้างแดง (Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Caryota mitis Lour.

ชื่อวงศ์ : PALMAE

เป็นปาล์มแตกกอ สูงได้ถึง 10 เมตร

ลำต้น : เห็นข้อปล้องชัดเจน

ใบ : ประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีใบย่อยรูปหางปลา ขอบใบหยักเว้าไม่สม่ำเสมอ แผ่นใบหนา สีเขียวเข้ม

ดอก :ช่อดอกออกที่ซอกกาบใบใกล้ยอด ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้นกัน

ผล : กลม ขนาดประมาณ 1.2 ซม. เมื่อสุกสีดำหรือแดงคล้ำ

ประโยชน์ : แกนกลางของยอดนำมาต้มจะอ่อนนุ่ม กินกับน้ำพริก รสหวานเล็กน้อย บางท้องถิ่นนำมาแกงกะทิ หรือผัดร่วมกับผักชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับยอดมะพร้าว

การขยายพันธุ์ : เต่าร้างแดงชอบดินร่วม ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดดครึ่งวันถึงเต็มวัน นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพราะเมล็ด แต่ควรระวังเนื้อสุกรอบเมล็ดมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลต ที่ทำให้คัน ควรใส่ถุงมือก่อนนำมาล้างเนื้อออกให้เหลือแต่เมล็ด แช่น้ำอุ่น 20 – 30 นาที เพื่อทำลายสารที่ทำให้คัน แล้วนำมาเพาะ ประมาณ 4 – 6 เดือน จึงเริ่มงออกเต้นใหม่ ต่อมาอีก 3 – 5 ปี ต้นจึงโตและแตกกอได้สวยงาม อาจใช้วิธีแยกกอมาปลูกใหม่ก็ได้ แต่ต้นที่ได้จะมีทรงพุ่มไม่สวยงามนัก

คูน (GIANT Elephant Ears)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Colocasia gigantean Hook.f.

ชื่อวงศ์ : Colocasieae

เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีหัวอยู่ใต้ดิน ต้นสูงได้ถึง 2 เมตร ตูนมีลักษณะคล้ายกับบอนโหราที่พบทางภาคใต้ ซึ่งมีน้ำยางที่ทำให้คันและอักเสบได้ ให้สังเกตที่น้ำยางบอนโหรามีสีส้ม ขณะที่ตูนมีน้ำยางใสและไม่คัน

ใบ : ก้านใบยาว แผ่นใบรูปหัวใจป้อม ขนาดใหญ่กว่า 40 ซม. แผ่นใบและก้านใบมีนวลสีขาวเครือบอยู่บาง ๆ

ดอก : ช่อดอกออกจากซอกกาบใบกึ่งกลางต้นมีกาบรองช่อดอกสีเหลืองอ่อนห่อหุ้มปลีดอกสีครีมอยู่ภายใน และมีกลิ่นหอม

ประโยชน์ : ก้านใบ ยอดใบ และช่อดอกอ่อนนำมาประกอบอาหารได้ หรือกินเป้นผักสดกับลาบ ส้มตำน้ำตก ยำ และอาหารรสจัดต่าง ๆ ในภาคกลางใช้ทำแกงกะทิ ชาวเหนือและอีสานใช้ทำแกงส้มแกงแค สำหรับก้านควรปอกเปลือกนอกก่อนนำมาประกอบอาหารให้แคลเซียมค่อนข้างสูง

สรรพคุณทางสมุนไพร : หัวใต้ดินช่วยถอนพิษไข้ รักษาแผลเรื้อรัง กันฝ้าซึ่งหมอยาพื้นบ้านในภาคเหนือจะใช้หัวสดหรือตากแห้งแล้วมาฝนกับน้ำผึ้ง ช่วยละลายเสมหะ แก้เจ็บคอได้

การขยายพันธุ์ : ชอบดินชุ่มชื้น มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดดครึ่งวันถึงตลอดวันปลูกริมน้ำได้ดี ขยายพันธุ์ง่าย โดยการแยกหน่อมาปลูกใหม่ เมื่อต้นโตเต็มที่ก็ตัดก้านมาประกอบอาหารได้ตามต้องการ

ติ้วเกลี้ยง


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Bl.

ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)

ไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 30 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีเหลือง ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมปกคลุมห่าง ๆ

ใบ : รูปรืออกตรงข้ามกัน แผ่นใบบาง ยอดใบอ่อนมีสีแดงเรื่อ หลังผลัดใบจะผลิดอกเป็นกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่วงฤดูฝน

ดอก : กลีบดอกมี 5 กลีบ สีชมพูอมแดง มีเกสรเพศผู้จำนวนมากและกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลเมื่อแก่จะแตกออกเป็น 3 พูด

เมล็ด : มีปีกบาง ๆ

ประโยชน์ : ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ หรือใส่ในซ่าผักของชาวเหนือรสฝาดมัน มีมากในฤดูร้อน แต่เป็นคนละชนิดกับผักติ้วที่มีใบมันรสเปรี้ยว

สรรพคุณทางสมุนไพร : ด้านสมุนไพร ต้นและรากนำมาผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น ต้มน้ำดื่มแก้กระษัย และเป็นยาระบาย ใบและยอดอ่อนมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ เนื้อไม้ใช้ทำฟืน

การขยายพันธุ์ : ติ้วเกลี้ยงชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดดจัดชอบอากาศเย็น ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เป็นพืชที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จึงเหมาปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะให้ดอกสวย มีกลิ่นหอม

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในธรรมชาติพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้นทุกภาคของไทย

ตานหม่อน


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vernonia elliptica DC.

ชื่ออื่น : ตานค้อน, ตานหม่น, ซ้าหมักหลอด

วงศ์ : COMPOSITAE

เป็นไม้เลื้อย อายุหลายปี ทุกส่วนมีขนสีเงินปกคลุม

ใบ : รูปไข่กลับ ปลายแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่าง ๆ ใต้ใบมีขนสีเงินปกคลุกหนาแน่น

ดอก : ช่อดอกออกที่ใบรูปไข่กลับ ปลายแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่าง ๆ ใต้ใบมีขนสีเงินปกคลุมหนาแน่น ช่อดอกออกที่ซอกใบปลายยอด ช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ช่อห้อยโค้งลง ดอกสีขาว

ผล : เป็นผลแห้ง

เมล็ด : มีขนที่ปลาย

ประโยชน์ : ยอดอ่อนกินเป็นผักกับน้ำพริกหรืออาหารรสจัดต่าง ๆ สรฝาดมันเก็บกินได้ตลอดปี

สรรพคุณทางสมุนไพร : ตามตำรายาไทยใช้ราก ดอก ใบ แก้โรคตานซางในเด็ก ช่วยรักษาลำไส้ และฆ่าพยาธิ ชาวนามักใช้ใบตำพอกตีนควายเพื่อช่วยรักษาแผล

การขยายพันธุ์ : ตาลหม่อนชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดตลอดวัน โตเร็วแข็งแรงทนทาน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง ควยทำซุ้มให้เลื้อยพัน ปลูกเป็นไม้ประดับในบ้านได้ดี

นิเวศวิทยา : พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและที่รกร้างทั่วทุกภาค

อัญชัน (Asian pigeonwings, Blue Pea, Butterfly Pea)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea L.

เป็นไม้เลื้อย อายุหลายปี

ใบ : ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบรูปรี

ดอก : ช่อดอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด มีทั้งดอกสีม่วง สีฟ้า และสีขาว ดอกรูปดอกถั่ว มีทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน

ฝัก : แบน ขนาดประมาณ 1 ซม. ยาว 8–10 ซม. ภายในมีเมล็ดแบนสีน้ำตาล
ประโยชน์ : นิยมกินยอดและฝักอ่อนเป็นผักสดหรือลวกสุก กินกับน้ำพริก รสมัน มีให้กินมากในช่วงฤดูฝน ดอกสีม่วงใช้เป็นสีธรรมชาติใส่ขนมต่าง ๆ

วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

สรรพคุณทางสมุนไพร : รากช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน ๆ หรือนำมาฝนผสมน้ำสะอาดใช้หยอดตาแก้ตาอักเสบ หรือใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน เมล็ดเป็นยาระบายอ่อน ๆ

การขยายพันธุ์ : อัญชันปลูกเลี้ยงง่าย เพียงนำเมล็ดมาหว่านในดิน รดน้ำให้ชุ่มชื้น อีก 7–10 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก ไม่นานก็ผลิดอกได้ ควรปลูกในที่มีแสงแดดตลอดวัน แล้วทำค้างไม้ให้เลื้อยและตัดแต่งทรงพุ่มอยู่เสมอ

โสม (Ginseng, Blue Pea, Butterfly Pea)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Panax ginseng C.A.
เป็นไม้พุ่ม เมื่อต้นแก่รากจะมีขนาดใหญ่ ต้นสูงได้ถึง 1 เมตร ทุกส่วนอวบน้ำ

ใบ : รูปไข่กลับแกมรูปใบหอก ปลายมน เวียนสลับรอบกิ่ง ก้านใบสั้นมาก

ดอก : ช่อดอกออกที่ปลายยอดชูตั้งขึ้น ดอกสีม่วงอมชมพู มี 5 กลีบ ผลกลม เมื่อแก่แตกออก ภายในมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก

ประโยชน์ : ยอดอ่อนกินเป็นผักโดยนำมาปรุงอาหาร เช่น ผัดน้ำมัน แกงจืดหมูสับ มีเทคนิคการทำให้อร่อยคือ ไม่ควรผัดหรือต้มนานเกินไป เพราะจะทำให้เละและเป็นเมือกลื่น ควรใส่เป็นอย่างสุดท้ายแล้วยกลงจากเตา

สรรพคุณทางสมุนไพร : รากเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย หรือใช้ทาภายนอกแก้อักเสบ ลดอาการบวม

การขยายพันธุ์ : โสมชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดครึ่งวันเช้า ขยายพันธุ์ง่าย ด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง โตเร็ว และออกดอกดกตลอดปี จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในบ้านกันมาก ถ้าปลูกนาน ๆ รากจะมีขนาดใหญ่ขึ้น คล้ายคนสมชื่อ

นิเวศวิทยา : กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของอเมริกา พบปลูกในบ้านเรามานาน

เสาวรส (Passion fruit)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Passiflora edulis Sims

ชื่ออื่น (ภาษาอังกฤษ) : Jamaica honey-suckle, Yellow granadilla

เป็นไม้เถาเลื้อย กระจายพันธุ์ทางตะวันออกของบราซิล เปรู เวเนซุเอลา หมู่เกาะอินดีสตะวันตก และตรินิแดดและโตเบโก พบปลูกทุกภาคในไทย

ใบ : รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายมนมีติ่งแหลม แผ่นใบหนาเป็นมันมีหูใบเป็นเส้น

ดอก : ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ขนาดประมาณ 7 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกด้านในสีแดงเรื่อ ด้านนอกสีเขียว เกสรเพศผู้สีม่วง ปลายขาว

ผล : ค่อนข้างกลม ขนาดประมาณ 8 ซม. เมื่อสุกมีสีเหลืองหรือสีม่วง เปลือกแข็ง ภายในมีเมล็ด

เมล็ด : แบนสีดำจำนวนมากห่อหุ้มด้วยเยื่อเมือกสีเหลือง

วิธีบริโภค : ยอดอ่อนนำมาต้มกินกับน้ำพริก ลาบ หรืออาหารรสจัดต่าง ๆ มีให้กินตลอดปี ส่วนผลสุกกินเป็นผลไม้สด ๆ เพียงโรยน้ำตาลแล้วตักเนื้อและเมล็ดกินได้ทันที หรือคั้นน้ำทำเครื่องดื่ม แยม หรือไอศกรีม มีรสเปรี้ยวมาก ให้วิตามินเอและวิตามินซีสูง

ประโยชน์ :  นำมารับประทานได้

สรรพคุณทางสมุนไพร : น้ำเสาวรสช่วยให้หลับสบาย ลดไขมันในเส้นเลือด และแก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีการวิจัยพบว่า เมล็ดมี albumin homologous protein ที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้

การขยายพันธุ์ : เสาวรสชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดตลอดวัน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง ควรทำซุ้มไม้ให้เลื้อยพัน หมั่นตัดแต่งทรงพุ่มอยู่เสมอ สามารถปลูกเป็นไม้ประดับริมรั้วได้ดี

ชุมแสง


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Xanthophyllum lanceatum (Miq.) J.J. Sm.

พบได้ทั่วทุกภาคในไทย เป็นไม้ต้น อายุหลายปี ต้นสูงได้ถึง 1 เมตร

ใบ : รูปขอบขนาน ปลายแหลมแผ่นใบหนาเป็นมัน

ดอก : ช่อดอกออกที่ซอกใบ สีขาว

ผล : ผลรูปไข่ สีเขียว ขนาดประมาณ 2 ซม. เมื่อสุกมีสีเหลืองนวล

ประโยชน์ : ยอดอ่อนนำมาต้มกินกับน้ำพริก ลาบ หรืออาหารรสจัดต่าง ๆ มีให้กินในช่วงปลายฤดูหนาวเข้าฤดูร้อน นอกจากนี้ยังใช้ทำฟืน ส่วนผลสุกใช้เป็นอาหารปลา

สรรพคุณทางสมุนไพร : แก่นต้นนำมาแช่น้ำใช้อาบแก้ฟกช้าภายใน

การขยายพันธุ์ : ชุมแสงชอบดินชุ่มชื้น ทนน้ำท่วมขังได้ดี ชอบแสงแดดตลอดวันขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด สามารถปลูกเป็นไม้ประดับในบ้านได้

มันสำปะหลัง (Cassava, Yuca, Mandioa, Manioc, Tapioca)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Manihot esculenta Crantz

เป็นไม้พุ่ม อายุหลายปี มีรากสะสมอาหารขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน ถ้าปลูกนาน ๆ ลำต้นจะมีเนื้อไม้ ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว กิ่งก้านมีสีแดงเรื่อ

ใบ : แผ่นใบหยักเว้าเป็นแฉก 6 – 7 แฉก ออกเวียนสลับรอบกิ่ง

ดอก : ช่อดอกออกที่ซอกใบปลายยอด เป็นดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศเมียจะใหญ่กว่าดอกเพศผู้

ผล : กลม ขนาดประมาณ 1.5 ซม.

ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae

ประโยชน์ : ยอดอ่อนและหัวต้องทำให้สุกเพื่อทำลายสารไซยาไนต์ที่เป็นพิษก่อนกิน โดยยอดอ่อนต้มสุกกินกับน้ำพริกหรืออาหารรสจัดต่าง ๆ มีรสมัน ให้ฟอสฟอรัสและวิตามินบี 1 สูง ส่วนหัวนำมาปิ้งหรือต้มทำเป็นขนมหวาน มีให้กินตลอดปี แมลงมักไม่กัดทำลายรากเนื่องจากมีสารไซยาไนต์มาก ในต่างประเทศนำน้ำยางมาทำกาวติดแสตมป์ น้ำตาล หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื้อไม้ทำเป็นกระดาน น้ำหวานจากดอกใช้ล่อมดแดง

การขยายพันธุ์ : มันสำปะหลังปลูกเลี้ยงง่าย แข็งแรงทนทาน โดยเฉพาะในสภาพแห้งแล้ง ขยายพันธุ์ง่าย เพียงนำกิ่งแก่หรือรากมาปักชำไม่นานก็เติบโตต่อได้ ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดีเพราะมีทรงพุ่มและใบสวยงาม ปัจจุบันมีพันธุ์ที่มีใบด่างให้ความสวยงามไปอีกแบบ