กระดาดดำ


ชื่ออื่น : ปึมปื้อ (เชียงใหม่), ลาดีบูเก๊าะ, เอาะลาย (ยะลา), เมาะดำ, หัวชะออกดำ (ใต้)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Alocasia macrorrhiza Schott

ชื่อวงศ์ : ARACEAE

เป็นพืชจำพวกหัว-เหง้า ลำต้นเหนือดินสั้นๆ

ใบ : เป็นพืชใบเดี่ยวรูปไข่หัวลูกศร กว้างเกือบกลม ปลายแหลม ปลายแหลม โคนเว้าลึก สีม่วง ยาว 40-50 ซม. ก้านใหญ่อวบ ยาว 1-2 เมตร

ดอก : ช่ออัดเป็นแท่งยาวมีกาบหุ้มเหมือนดอกบอน

ผล : ผลสดเนื้อนุ่มสีแดง

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • ใบ รสเย็น แก้การอักเสบบวมแดงตามข้อ
  • น้ำจากก้านใบ รสเย็นคันรันประทานแก้ไอ
  • ราก รสเย็นจืด ต้มรับประทาน ขับปัสสาวะ ระบายท้อง แก้พิษแมลงป่อง
  • หัว รสเย็นเมา โขลกพอกแผลที่มีหนอง

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

นิเวศวิทยา : เกิดตามที่ลุ่มชื้นแฉะในป่าดงดิบเขา

กระดาดขาว


ชื่ออื่น : เมาะขาว (ปัตตานี), หัวชะออกขาว, ออกดิบ (ใต้), กะเอาะขาว (ชุมพร), ผักบุก (เหนือ)

ชื่ออังกฤษ : Giant Taro

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Colocasia gigantea Hook.f.

ชื่อวงศ์ : ARACEAE

เป็นไม้ลงหัวจำพวกบอน สูงประมาณ 2 เมตร

ใบ : รูปหัวใจขนาดใหญ่สีเขียวนวล แผ่นใบบาง ก้านใบใหญ่ยาว

ดอก : คล้ายดอกหน้าวัว เป็นแท่งๆ สีขาวหรือส้ม ออกเป็นช่อ กาบหุ้มดอกสีเขียวหรือขาว

ผล : กลมกลิ่นหอมรับประทานได้

สรรพคุณทางสมุนไพร : หัว รสเมาคัน กัดเถาดานในท้องกัดฝ้า กัดหนอง สมานแผล ฆ่าพยาธิภายนอก แก้มะเร็ง

การขยายพันธุ์ : โดยการแยกหน่อ

นิเวศวิทยา : เกิดตามป่าดงดิบเขาหินปูนทั่วไป

กระดอม

ชื่ออื่น : ขี้กาดง (สระบุรี), ผักแคบป่า (น่าน), มะนอยจา (เหนือ), มะนอยหก, มะนอยหกฟ้า (แม่ฮ่อนสอน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz.

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

เป็นไม้เถาเลื้อย มีมือเกาะ เหมือนมะระขี้นก

ใบ : เป็นใบเดี่ยว แยกเพศแต่อยู่ต้นเดียวกับ

ดอก : กลีบดอกมี 5 กลีบ ฐานเชื่อมต่อกัน กลีบรองดอกเชื่อติดกันเป็นหลอดยาว ออกตามง่ามใบ

ผล : ขนาดเท่าผลสมอไทย หัวท้ายแหลม สันสีอ่อน 10 สันตามแนวหัวท้าย เมื่อสุกสีแดงสด ผลแก่และผลสุกมีพิษ ห้ามรับประทาน การเก็บ จะเก็บลูกอ่อนมาตากแห้ง

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • ใบ รสขม ตำคั้นเอาน้ำหยอดตา แก้ตาอักเสบ รับประทานแก้พิษของลูกสุก แก้พิษบาดทะยักกำเริบเพราะรักษาผิด
  • ลูก ใช้ลูกอ่อนตากแห้ง รสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ ดีเดือด คลั่งเพ้อ เจริญอาหาร ทำโลหิตให้เย็น ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก แก้ไข้รักษามดลูกหลังจากการแท้ง หรือ คลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบถอนพิษผิดสำแดง แก้พิษผลไม้บางชนิด
  • ราก รสขม ต้มรับประทาน แก้ไข้ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ดับพิษโลหิตเจริญอาหาร บดผสมน้ำร้อน ทาถูนวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอ่อนล้า

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยา : เกิดอยู่ตามที่รกร้างใบป่าเขาทั่วไป

กระดังงา


ชื่ออื่น : กระดังงาไทย, กระดังงาใหญ่, สะบันงา (เหนือ)

ชื่ออังกฤษ : Perfume Tree, Llang-Llang, Ylang, Kenanga

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata (Lam.) Hooker f. & Thoms.

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เปลือต้นสีเทาเกลี้ยง

ใบ : คล้ายใบของต้นเล็บมือนาง สีเขียวอ่อนบางนิ่มปลายแหลมโคนมนกลม

ดอก : เป็นกลีบยาวอ่อน มี 6 กลีบ ขอบหยักเป็นคลื่น กลีบชั้นในสั้น ดอกอ่อนสีเขียว พอแก่จะเป็นสีเเหลืองอ่อนกลิ่นหอมฉุน

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ท้องเสีย
  • เนื้อไม้ รสขมเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ
  • ดอก รสหอมสุขุม บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ
  • น้ำมันหอม ใช้ปรุงน้ำหอมชั้นสูงที่มีราคาแพง ใช้ปรุงขนมและอาหาร

กระเจี๊ยบมอญ


ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบขาว, กระเจี๊ยบ, มะเขือมอญ, มะเขือทะวาย, มะเขือพม่า, มะเขือละโว้, มะเขือมื่น

ชื่ออังกฤษ : Okra, Lady’s finger, Gumbo

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Abelmoschus esulentus (L.) Moench.

ชื่อวงศ์ : MALVACEAE

เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1-2 เมตร

ใบ : ใบโตหยักลึก มีขนคลุม มีขนคลุม

ดอกสีเหลืองโต ลูกกลมยาว โคนตรงปลายแหลม เป็นจีบ มีขนรอบ

ผล : เมื่อแก่จะแตกออกเป็น เมล็ดกลม สีดำ

นิเวศวิทยา : ปลูกได้ในประเทศเขตร้อนทั่วไป

สรรพคุณทางยา :

  • ผล รสหวานเย็น บดเป็นผง ชงน้ำร้อน หรือปั้นเม็ด รับประทานรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  • สารสำคัญ มี สารเพกทินและเมือก

การขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ด

กระจับนก

ชื่ออื่น : มะดะ (เชียงใหม่)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Euonymus cochinchinensis

ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE

เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก ต้นเล็กเรียวสูงประมาณ 12 เมตร กิ่งก้านทรงกระบอก สีเขียว และน้ำตาลอมแดง

ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันรูปไข่หรือขอบขนาน ปลายและโคนแหลมขอบเรียบหรือจักห่างๆ กว้าง 1-2 นิ้ว ยาว 2-6 นิ้ว ก้านใบสั้น

ดอก : สีเหลืองแกมเขียว ออกเป็นช่อ ตามง่ามใบ กลีบดอกรูปไข่กลับ 5 กลีบ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ขอบหยัก

ผล : รูปไข่กลับ เป็นสันจักเป็นพูลึก 5 พู ปลายนูน เมล็ดรูปกลมรี

สรรพคุณทางสมุนไพร : เปลือกต้น รสฝาดขม ดองสุรา ดื่ม เจริญอาหาร

นิเวศวิทยา : ขึ้นตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป

การขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ด

กระจับเขา

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Hedera himalaica Tobler

ชื่อวงศ์ : ARALIACEAE

เป็นไม้เถาเลี้อยตามพื้นดิน ใช้รากที่งอกออกตามเถาเกาะ

ใบ : เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปสามเหลี่ยม และแฉกแหลม 3 แฉก ขอบเรียบ เส้นใบออกจาฐาน 3-7 เส้น

ดอก : เป็นช่อ คล้ายดอกผักชี

ผล : ผลกลม ภายในมี 5 ช่อง เมล็ดรูปไข่

นิเวศวิทยา : เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าในป่าแล้งทั่วไป

สรรพคุณทางสมุนไพร : ราก รสเฝื่อน ถอนพิษ แก้พิษตะขาบ แก้ฝีบวม

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

กราย


ชื่ออื่น : ขี้อาย (เหนือ), หางกาย, หนามกราย, หนามกราย (โคราช), แนอาม (เหนือ), ตานแดง (ใต้), แสนคำ (อีสาน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Terminalia triptera Stapf.

ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง

ใบ : เป็นใบเดี่ยว สีเขียวทึบ

ดอก : เป็นช่อ อยู่ปลายกิ่ง

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • รสฝาด กล่อมเสมหะ กล่อมอาจม คุมธาตุ แก้อุจจาระเป็นพอง สมานบาดแผล
  • ลูก รสฝาด แก้บิด ปวดเบ่ง เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องเดิน

นิเวศวิทยา : เกิดตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไปในภาคกลาง, อีสานและเหนือ

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือตอนกิ่ง

 

ก้นจ้ำ


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Bidens biternata (Lour.) Merr. & Sherff ex Sherff.

ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

เป็นพืชล้มลุก สูง 1 – 2 ม.

ลำต้น : เป็นเหลี่ยม มีขนประปราย ใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียวแหลมโคนสอบ ขอบหยัก ฟันปลา ผิวมีขนบางๆทั้งสองข้าง

ดอก : ดอกเป็นกระจุก สีเหลือง กลีบเป็นฝอย ก้านดอกแข็ง ยาวประมาณ 5 – 10 ซม.

ผล : ยาว ปลายมีรยางค์ 2 – 5 อัน ผิวมีขนสั้น ๆ

สรรพคุณทางสมุนไพร : รสจืดเย็น ใบสดตำคั้นเอาน้ำหยอดตา แก้ตามัว ตำพอกแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

นิเวศวิทยา : ขึ้นอยู่ตามริมทางสวนไร่นาทั่วไป ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด