กระทุงหมาบ้า


ชื่ออื่น : คันชุนสุนัขบ้า, ผักฮ้วนหมู, เครือเขาหมู (เหนือ), มวนหูกวาง (เพชรบุรี), เถาคัน (ใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dregea volubilis Benth.ex Hook., Watlakata volubilis Stapf.

ชื่อวงศ์ : ASCLEPLADACEAE

เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถากลม สีน้ำตาลอ่อน

ใบ : มีลักษณะเป็นใบกลม โตปลายแหลม โคนรูปหัวใจ คล้ายใบบอระเพ็ด แต่หนาและแข็งกว่า ออกเป็นคู่

ดอก : ออกเป็นช่อออกตามง่ามใบ ขนาดเล็ก

ผล : เป็นฝักรูปใข่ยาว หัวแหลม

เมล็ด : กลมรี

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • ลำต้น รสเมาเอียนติดขม ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ กระทุ้ง พิษไข้หัว ไข้กาฬ ดับพิษฝี ขับปัสสาวะ แก้พิษดีกำเริบ ละเมอเพ้อกลุ้ม ปวด ศีรษะเซื่อมซึม น้ำตาตกหนัก แสบร้อนหน้าตา ช่วยให้นอนหลับ
  • ใบ รสเมาเบื่อเอียนติดขม แก้แผลน้ำร้อนลวก แก้บวม แก้ฝี
  • ราก รสเมาเบื่อเอียนติดขม ทำให้อาเจียน ขับพิษได้เช่นเดียวกับเถากระทุ้งพิษ แก้ไข้พิษ

การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ดและปักขำ

นิเวศวิทยา : เกิดตามป่าดงดิบทั่วไป

กระทือ


ชื่ออื่น : กะทือ, กระทือบ้าน, กระทือป่า, กะแอบ, แฮวดำ, เฮียวดำ, กะแวน, กะแอน (เหนือ), เฮียงแดง (แม่ฮ่องสอน)

ชื่ออังกฤษ : Wild Ginger, Martinique Ginger

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbei Rosc.Smith.

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

เป็นไม้ล้มลุกประเภทเหง้า กระทือป่ามีฤทธิ์แรงกว่ากระทือบ้าน สรรพคุณรวมเหมือนกัน

ใบ : ออกซ้อนกันเป็นแผง ใบเรียวยาว สีเขียวแก่

ดอก : ดอกช่อออกจาก เหง้าใต้ดิน กลีบเลี้ยงสีแดงปนเขียว

สรรพคุณทางสมุนไพร

  • เหง้า รสขมขื่นปร่า บำรุงน้ำนมให้บริบูรณ์ แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด ขับผายลม ขับปัสสาวะ เหง้ากระทือหมกไฟฝนกับน้ำปูนใสรับประทาน แก้บิดปวดเบ่ง แก้เสมหะเป็นพิษ แก้แน่นหน้าอก กล่อมอาจม ขับน้ำย่อยให้ลงสู่ลำไส้ แก้จุกเสียด
  • ราก รสขมขื่นเล็กน้อย แก้ไข้ตัวเย็น
  • ต้น รสขมขื่น เจริญอาหาร
  • ใบ รสขมขื่นเล็กน้อย ขับเลือดเน่าในมดลูก ขับน้ำคาวปลา
  • ดอก รสขมขื่น แก้ไข้เรื้อรัง ไข้ตัวเย็น ไข้จับสั่น แก้ผอมเหลือง
  • เกสร รสเฝื่อนปร่า แก้ลม บำรุงธาตุ

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยแยกเหง้า

นิเวศวิทยา : เกิดตามป่าดงดิบชื้นทั่วไป

กระทุ่มเลือด


เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นเหมือนกระทุ่มใหญ่

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ยาวประมาณ 10 ซม.

ดอก : ช่อดอกย่อยทรงกลม คล้ายดอกกระถิน สีเหลืองปลายขาว เมื่อสับดูที่เปลือก จะมีน้ำยางสีแดงเหมือนเลือด

สรรพคุณทางสมุนไพร : เปลือก รสฝาดร้อน ฆ่าพยาธิ แก้บาดแผลมีเชื้อ แก้มะเร็งคุดทะราด แก้บิดมูกเลือด

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธ์ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยา : เกิดอยู่ตามป่าดิบเขา และ ป่าเบญจพรรณ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

กระท้อน(Yellow Sentol)


ชื่ออื่น : สะท้อน, หมากต้อง (อีสาน), สะโต, สะตู (ใต้)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Sandoricum nervosum Car.

ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่

ใบ : ใบประกอบ มีใบย่อยขนาดใหญ่ 3 ใบ ใบแก่สีแดง

ดอก : ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อ

ผล : ผลทรงกลมสีเหลืองเปลือกหนา

เมล็ด : มีเนื้อสีขาวหุ้มเมล็ด

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • ใบ รสเปรี้ยวเย็นฟาด ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
  • เปลือกต้น รสเปรี้ยวเย็นฟาด รักษาโรคผิวหนัง
  • เปลือกผล รสเปรี้ยวเย็นฟาด เป็นยาสมาน
  • ราก รสเปรี้ยวเย็นฟาด แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้รากสาด

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและกิ่งตอน

นิเวศวิทยา : เกิดตามป่าในเขตร้อนทั่วไป

กระท่อม


ชื่ออื่น : อีถ่าง, กระทุ่มโคก, ท่อม, กระทุ่มพาย (ใต้)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Mitragyna speciosa Benth.

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร

ใบ : เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ปลายแหลม คล้ายใบกระดังงาไทย มีทั้งชนิดสีแดง และสีเขียว

ดอก : ช่อดอกอัดแน่นทรงกลม คล้ายดอกกระถิ่น มีเกสรคล้ายดอกกระถิน สีเหลืองแก่ พบมากภาคใต้และภาคกลาง เป็นพืชเสพติดให้โทษ

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • ใบ รสขมเฝื่อนเมา แก้บิด ปวดเบ่ง แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ระงับประสาท ทำให้ทนต่อแสงแดด แต่แพ้อากาศครื้มฟ้าครื้มฝน จะหนาวสั่น ทำให้ก้าวร้าว ดุดัน

พิษ : เป็นยาเสพติด ทำให้รู้สึกสบาย ขยันว่องไว ทำงานได้นานๆ โดยไม่สนใจแดดแตะจะกลัวฝน เมื่อเสพไปนานๆ จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวดำเกรียม โดยเฉพาะที่บริเวณโนกแก้มทั้งสองข้าง น้ำลายแห้ง ปัสสาวะบ่อย ท้องผูกอุจจาระสีดำ เป็นก้อยคล้ายขี้แพะ จิตสับสน ประสาทหลอน ใช้เกินขนาด จะทำให้มึนงง คอแห้ง มึนเมา อาเจียน ถ้าติดยาแล้วหยุดทันที จะทำให้มีอาการ น้ำมูกไหล เจ็บตามกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อแขนขากระตุก ก้าวร้าว