แกแล

ชื่ออื่น: ไม้เหลือง, แกก้อง (แพร่), แกล (ใต้), แก่นเข

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Cudrania javanensns Trecul.

ชื่อวงศ์: MORACEAE

เป็นไม้เถาทรงพุ่มเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่ มีหนามแข็งเรียวยาวตามง่ามใบ เนื้อไม้สรขาว แก่นสีน้ำตาล ใช้แก่นเป็นสีย้อมผ้าให้สีเหลือง

ใบ: ใบเดี่ยวรูปหอกปลายแหลม ขอบเรียบผิวมัน ออกเรียงสลับรอบกิ่ง

ดอก: ดอกเล็กๆออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบ

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณทั่วไป

สรรพคุณ:

  • แก่น รสขมปร่าขื่น บำรุงน้ำเหลืองให้ปกติ แก้พุพอง บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ

กุยช่าย

Chinese Chive

ชื่ออื่น: กูไฉ่, กู๋ฉ้าย, หอมแป้น, ผักแป้น (อีสาน), หัวชู (เหนือ)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Allium tuberous Rottler.

ชื่อวงศ์: ALLIACEAE

เป็นพืชจำพวกผัก ลำต้นใต้ดิน พองกลมรีสีขาว ปลูกเป็นผัก เป็นอาหารที่ให้แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก

ใบ: ใบรูปขนานยาว ขอบเรียบ ปลายเรียวแหลม

ดอก: ดอกช่อสีขาว ก้านช่อยาว

ผล: ผลกลมรี มี 3 พู

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หัว และแยกหน่อ

สรรพคุณ:

  • ใบ รสร้อยฉุน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ฟกบวม แก้ปวดแน่นหน้าอก แก้ไอหรืออาเจียนเป็นเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด คั้นเอาน้ำหยอดหู ขับแมลงที่เข้าหู ฆ่าเชื้อโรคในแผลสด แก้แผลหนองเรื้อรัง แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้หูน้ำหนวก แก้บิด แก้ผื่นคันตามตัว แก้อ่อนเพลีย แก้มดลูกหย่อน
  • เมล็ด รสเค็มร้อน ขับพยาธิเส้นด้าย แก้ปวดเอว บำรุงตับไต แก้ระดูขาว แก้หนองใน แก้ปัสสาวะกะปริบปะปรอย
  • เหง้า รสร้อนฉุน แก้เจ็บหน้าอก ขับประจำเดือน ขับสิ่งคั่งค้างในร่างกาย แก้ไอเป็นเลือด

กุ่มบก

ชื่ออื่น:สะเบาถะงัน, เดิมถะงัน (เขมร), ผักก่าม (อีสาน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Crateva adansonii DC. ssp. trifoliata (Roxb.) Jacobs

ชื่อวงศ์: CAPPARIDACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 6-10 เมตร

ใบ: ใบประกอบ ใบย่อย 3 ใบ รูปหอกปลายแหลม โคนสอบแคบ กว้าง 5-6 ซม. ยาว 9-10 ซม. ก้านใบย่อยมีต่อมเล็กๆที่ปลายก้าน

ดอก: ดอกโต 2-5 ซม. สีขาวอมเขียวอ่อนๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวลหรืออมชมพู ก้านเกสรตัวผู้สีม่วง ออกเป็นช่อ

ผล: ผลกลม ขนาดประมาณ 1 นิ้ว

นิเวศวิทยา: ขึ้นตามป่าโปร่งทั่วไป ออกดอกพร้อมกับผลัดใบ

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ:

  • ใบ รสร้อน ขับลม ฆ่าพยาธิ แก้กลากเกลื้อน
  • กระพี้ รสร้อน ทำให้ขี้หูแห้งออกมา
  • แก่น รสร้อน แก้ริดสีดวงผอมเหลือง
  • เปลือกต้น รสร้อน ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ลงท้อง ตุมธาตุ ขับผายลม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ กระตุ้นลำไส้ให้ย่อยอาหาร บำรุงหัวใจ ทาแก้โรคผิวหนัง เป็นยาระงับประสาท มีคุณเสมอกับเปลือกมะรุมและเปลือกกุ่มน้ำ

กุ่มน้ำ

 

ชื่ออื่น: ร้อถะ (ละว้า-เชียงใหม่), เหาะเถาะ (กะเหรี่งกาญจนบุรี), อำเภอ (สุพรรณบุรี), ผักกุ่ม (อีสาน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Crateva magna DC., C. naval Buch.-Ham.

ชื่อวงศ์: CAPPARIDACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร

ใบ: ใบประกอบใบย่อย 3 ใบ รูปหอกปลายหว้างแหลม โคนสอบแคบ เนื้อหนา หน้าสีเทาอมน้ำตาลมันเงา ท้องใบมีขนอ่อนสีเทา เส้นกลางใบอมแดง ปลายก้านใบมีต่อมน้ำตาลขนาด 1 มม. กว้าง 1-3 นิ้ว ยาว 2-9 นิ้ว

ดอก: ดอกช่อ ยาว4-6 นิ้ว กลีบรองดอกรูปไข่ปลายแหลม กลีบดอกกลมยาว 2-3 ซม. สีขาว เกสรตัวผู้มีก้านสีม่วง

ผล: ผลรูปรีเปลือกหนา ผลอ่อนผิวมีสะเก็ด สีเหลืองอมเทา ผลแก่ผิวเรียบ ยาว 5-8 ซม.

เมล็ด: รูปเกือกม้า ยาว 6-9 มม.

นิเวศวิทยา: เกิดตามริมแม่น้ำลำธาร หนองบึง ตามป่าทั่วไป

การขยายพันธุ์: ชยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ:

  • ราก รสสุขุม แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับหนองให้กระจาย
  • ใบ ขมหอม ขับเหงื่อ แก้ไข้ เจริญอาหาร ระบาย ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น แก้อัมพาต แก้โรคไขข้ออักเสบ แก้สะอึก ขับผายลม แก้ลมขึ้นเบื้องสูง
  • ดอก รสเย็น แก้เจ็บตา แก้เจ็บในคอ แก้ไข้ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • ลูก รสขม แก้ไข้
  • เปลือกต้น รสขมหอม แก้สะอึก ขับผายลม ขับเหงื่อ แก้ริดสีดวงผอมแห้ง ระงับพิษที่ผิวหนัง แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับน้ำดี ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ แก้อาเจียน
  • กระพี้ รสร้อน แก้ริดสีดวงทวารหนัก
  • แก่น รสร้อน แก้นิ่ว

กาหลง

ชื่ออื่น: เสี้ยวดอกขาว, เสี้ยวน้อย (เหนือ), กาแจ๊ะกูโด (นราธิวาส)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Bauhinia acuminata Linn.

ชื่อวงศ์: CEASALPINIACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร

ใบ: ใบเดี่ยวทรงกลม ปลายจักเว้าลึกพันเข้าหากัน ออกเรียงสลับกัน

ดอก: ดอกช่อละ 5-8 ดอก ทยอยบานไล่กันไป กลีบดอกสีขาว 6 กลีบ

ผล: เป็นฝักแบนยาว

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าเบญจพรรณทั่วไป

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และกิ่งตอน

สรรพคุณ:

  • ดอก รสสุขุม แก้ปวดศีรษะ ลดความดันโลหิต แก้เสมหะพิการ แก้เลือดออกตามไรฟัน

กาสามปีก



ชื่ออื่น: กาสามปีกเล็ก, ลิ่นต้น (กลาง), เกล็ดปลาช่อน (สระบุรี), เกล็ดลิ่น (ใต้), หญ้าสองปล้อง, เกล็ดลิ่นใหญ่ (โคราช)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Phyllodium (Benth.) Desv.

ชื่อวงศ์: FABACEAE

เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-3 ฟุต

ใบ: ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบรูปหอกเรียว ปลายแหลมเหมือนใบถั่วแระ กว้าง 2-3 นิ้ว ยาว 4-5 นิ้ว

ดอก: ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบ ใบประดับคล้ายเกล็ดปลา ทางกลมมนเล็กๆ 2 ใบ ประกบไว้กางออกตั้งฉากกับก้านตรงข้ามกัน เนื้อบางสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีขาวคล้ายดอกถั่ว

ผล: เป็นฝักแบนเล็กๆยาวคอดเป็นข้อๆ

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าเขา

สรรพคุณ:

  • ใบ รสจืด ต้มดื่มแก้ไอ แก้ไขปัสสาวะพิการ ไข้จับสั่น
  • ราก รสจืดเฝื่อน ตำพอกแก้ปวด แก้เคล็ดบวม