ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.
มะขามเทศ ไม้ต้นกึ่งผลัดใบ ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 8-15 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา ลำต้นและกิ่งปกติมีหนามแหลม แต่อาจพบที่มีการปรับปรุงพันธุ์ไม่ให้มีหนาม
ใบ : ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น มีใบย่อย 2 คู่ ฐานใบเบี้ยว
ดอก : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกย่อยเกิดรวมเป็นกระจุกกลม สีขาวหรือสีเหลืองอ่อนออกดอกเกือบตลอดปี
ผล : เป็นผักรูปขอบขนาน ฝักโค้งเป็นวง ฝึกสุกสีชมพูอ่อนเมล็ดสีดำ เนื้อหุ้มเมล็ดหนา เมื่อสุกสีขาวอมชมพู
คุณค่าทางภูมิสถาปัตยกรรม : เรือนยอดแตกกิ่งแผ่กว้างคล้ายร่ม ปลูกเป็นไม้ให้ร่มและไม่ผลตามริมถนน
ชื่อวงศ์ : Leguminosae – Mimosoideae
ประโยชน์ : เนื้อหุ้มเมล็ดรับประทานได้ นิยมนำมาทำเป็นไม้ดัด ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์ให้มีสีใบด่าง เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ประดับ ชาวมอญนำมะขามเทศชนิดรสฝาดไปแกงส้ม
สรรพคุณทางสมุนไพร : แก้ท้องร่วง โดยเฉพาะฝัก ช่วยขับพยาธิ ใช้ห้ามเลือดหรือล้างแผล ช่วยดูดน้ำเหลือง ลดการติดเชื้อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ปวดฟัน รักษาแผลในปากและคอ
การขยายพันธุ์ : มะขามเทศสามารถเจริญเติบโตได้ทุกสภาพพื้นที่ ทนแล้งและทนน้ำท่วมขัง ขยายพันธุ์ง่าย เพียงนำเมล็ดมาเพาะไม่นานก็จะงอกเป็นต้น โตเร็ว ประมาณ 2 – 3 ปีก็เริ่มให้ดอกผล ให้ทรงพุ่มขนาดใหญ่ ควรปลูกในพื้นที่กว้าง บ้างก็ปลูกเป็นไม้ดัด โดยเฉพาะมะขามเทศใบด่างที่มียอดสีขาวอมชมพูสวยงามมาก
นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง เป็นไม้ทนดินเค็มและทนแล้ง