กฤษณา


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง มีเปลือกเรียบ เนื้อไม้หยาบอ่อน สีขาวมีเสี้ยน ใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เรียบเป็นมัน ดอกช่อเล็กๆ ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลีบดอกย่อย มี 5 กลีบ สีเหลืองงอมขาวดก กลิ่นหอมฉุน ผลแบนรูปรี เกิดอยู่ตามป่าดงดิบชื้น มีมากทางภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี, ตลาด, สระแก้ว ฯลฯ ปัจจุบันมีสวนเกษตรของเอกชน ทำการเพาะกล้าไม้กฤษณาขาย ราคาตั้งแต่ 24-300 ตามขนาดกล้า ไม้กฤษณาในปัจจุบันในประเทศมีน้อยมาก ต้องนำเข้าจากเขมร, ลาว, เวียดนาม กฤษณา ที่ใช้ปรุงยากันถ้าอย่างดีก็มีแก่นสารสีเข้มติดบ้างเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเนื้อไม้ที่มีสำน้ำตาลเข้มถึงดำกลิ่นหอมนั้นราคากิโลกรัมละหลายหมื่นบาทเราส่งนอกหมด เนื้อไม้หอกเกิดจาก การที่ต้น กฤษณาได้รับบาดเจ็บ อาจเกิดจากแมลงหรือการตัดฟัน ทำให้มีการขับสารน้ำมันหอมออกมาพอกตรงรอยบาดแฟลเมื่อนานเข้าจะหนาขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้เปลี่ยนจากเนื้อไม้ที่เบา หนักมากขึ้น บางต้นเกิดเป็นแท่งใหญ่บางต้นไม่มีเลย ต้นกฤษณาตามธรรมชาติ ไม่ได้ให้เนื้อไม้หอมเหมือนกันทุกต้น สมัยก่อนมีการตัดฟันต้นกฤษณาทิ้งไว้ค้างปี เมื่อเนื้อไม้ผุจะมาเก็บหาเนื้อไม้หอมไปขาย ชาวฮินดูนิยมนำมาจุดไฟให้กลิ่นหอม

ใบ : เดี่ยวรูปรีหรือรูปไข่กลับ โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ใบเป็นมัน

ดอก : มีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง สีขาว ยามออกดอกตกเต็มต้น ให้กลิ่นหอมฉุนมาก

ผล : รี ปลายมน เปลือกแข็ง

เนื้อไม้ : สีขาวนวล ไม่มีกลิ่นหอม ต่อเมื่ออายุของต้นกฤษณามากกว่า 20 ปีขึ้นไปจึงเกิดเชื้อราขึ้นในเนื้อไม้ ทำให้ไม้มีสีเข้ม และเมื่ออายุของต้นกฤษณาถึง 50 ปีเมื่อไร เมื่อนั้นจะได้กลิ่นหอมของกฤษณาทั้งต้น

วิธีการปลูกและดูแลรักษา : กฤษณามักขึ้นตามที่ชุ่มชื้นในป่าดงดิบ ตามแนวป่า ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มากเหมือนผลไม้ แต่กว่าจะโตจนนำมาใช้ประโยชน์และผลิตสารหอมได้ต้องใช้เวลานานอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป

ชื่อวงศ์ : Thymelaeaceae

สรรพคุณทางสมุนไพร : เนื้อไม้ ที่มีคุณภาพดีต้องมีกลิ่นหอม เนื้อไม้เป็นสีดำเข้ม จึงนำมาใช้ทำยาแก้อาเจียน ท้องร่วง วิงเวียนศีรษะ แก้กระหายน้ำ แก้ปวดตามข้อ แก่นไม้ ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต รักษาโรคลม หน้ามืด บำรุงตับและปอดให้แข็งแรง เมล็ด นำมาสกัดน้ำมัน แก้โรคมะเร็ง โรคเรื้อน คนในแถบมลายูใช้ไม้กฤษณาหอมเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและใช้รักษาโรคผิวหนังหลายชนิด ชาวฮินดูใช้ผงไม้หอมกฤษณาโรยบนเสื้อผ้าหรือบนร่างกายเพื่อฆ่าหมัดและเหา ตำราจีน กฤษณาจัดเป็นยาชั้นดี บำรุงหัวใจ แก้หอบหืด เสริมสมรรถภาพทางเพศ แก้โรคปวดบวมตามข้อ รักษาโรคกระเพาะอักเสบ ขับลม ชาวยุโรปใช้ไม้กฤษณามาปรุงแต่งทำน้ำหอม ชาวอาหรับนิยมใช้น้ำมันหอมจากกฤษณาทาตัวเป็นเครื่องประทินผิว ป้องกันแมลงกัดต่อย ส่วนกากที่เหลือนำไปทำธูปหอมหรือยาหอม

ต้นไม้สัญลักษณ์ : คำว่า “กฤษณา” มีความหมายเกี่ยวข้องถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องสูงและเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เนื่องจากเป็นชื่อชายาของปาณฑพทั้งห้าในมหากาพย์ มหาภารตยุทธ บางตำรากฤษณาหรือกฤษณะยังหมายถึง “ดำ” และมีความหมายถึงชื่อของพระกฤษณะ กฤษณาเป็นไม้พื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ไม้กฤษณาเป็นไม้เนื้อหอมที่เลื่องชื่อในบรรดาพรรณไม้หอมทั้งหมดและมีคุณภาพดีที่สุด คือ สีดำสนิท หนัก และจมน้ำ เมื่อเผาแล้วเกิดกลิ่นหอม สูดดมแล้วเกิดกำลังวังชา และถือเป็นไม้มงคงในพิะ๊กรรมของศาสนาอิสลาม ในสุเหร่าหรือตามบ้านอภิมหาเศรษฐี หรือใช้ต้อนรับแขกพิเศษ

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด นำเมล็ดที่เก็บมาใหม่ๆ เพาะในกระบะทรายโดยเอาหัวขึ้น รดน้ำเช้า – เย็น เมล็ดจะงอกใน 1-2 สัปดาห์ การงอกของเมล็ดจะงอกได้ดี เมื่อเพาะเก็บมาไม่เกิน 1 สัปดาห์ และจะลดลงไปเรื่อยๆ อาจไม่งอกเลย ในระยะ 1 เดือน เมื่อกล้าไม้โตพอควร จึงย้ายลงถุงย้ายไปไว้ในเรือนเพาะชำที่มีแดดรำไร เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้วย้ายไปปลูก หรือเปลี่ยนถุงชำตามขนาดของกล้า เก็บไว้ปลูก การปลูกจะต้องเตรียมดินให้สามารถรักษาความชื้นไว้ได้ดี เพราะกฤษณา เป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้นแต่ไม่แฉะ ระยะต้นห่างกันประมาณ 2-4 เมตร และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

บุหรง


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Dasymaschalon blumei Finet & Gagnep

ไม่พุ่มไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 6 เมตร เรือนยอดแน่นทึบ ลำต้นเปลาตรงแตกกิ่งก้านต่ำ เปลือกนอกเรียบสีเทา เปลือกในสีน้ำตาลอมแดง

ใบ : เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปไข่กลับ หรือรูปหอก มีขนาด 4-8 x 8-22 ซม. มีกลิ่น ไม่มีหูใบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นหรือหยักโค้งเล็กน้อย ปลายใบแหลม ฐานใบมนและเว้าเล็กน้อย ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีขาวนวล เส้นแขนงใบ 10-12 คู่ ก้านใบยาว ประมาณ 0.4 ซม.

ดอก : ออกเดี่ยว ๆ ที่ง่ามใบ ดอกห้อยลง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาด 4-6 x 4-5 มม. สีเขียว มีขนสั้นสีขาวปกคลุม กลีบดอก 3 กลีบ ขอบกลีบเชื่อมติดกันตลอดแนว กลีบบิดเวียนสีเหลือง เกสรเพศผู้สีชมพูอ่อน ขนาดเล็กจำนวนมากอัดเป็นวงกลม ล้อมรอบเกสรเพศเมีย ก้านดอกยาว 2-2.5 ซม.

ผล : แบบผลกลุ่ม จำนวน 10-15 ผลย่อย ออกจากจุดเดียวกัน แต่ละผลคอดเว้า 1-6 ข้อ ผลแก่มีสีแดง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปขอบขนานสีน้ำตาลขนาด 0.4 x 0.6 มม.

ระยะเวลาออกดอก ออกผล เดือนมีนาคม – กันยายน

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ประโยชน์ : ดอกสวยงาม สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี ผลเป็นอาหารให้กับสัตว์ป่า ปัจจุบันหรงจัดเป็นพืชหายาก

กะโมกเขา, ลาโมก


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Sageraea elliptica (A.DC.) Hook.f. & Thomson

ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูง 15-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ เปลือกนอกแตกเป็นสะเก็ดและร่อนสีเทาอ่อน เปลือกในมีสีเหลือง สลับขาว มีรูป อากาศขนาดเล็กกระจายอยู่ประปราย กิ่งแก่เรียบสีน้ำตาลไหม้กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม เปลือกและใบมีกลิ่นฉุน

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงสลับอยู่ในระนาบเดียวกัน ไม่มีหูใบ ใบรูปขอบขนาน หรือรูปหอกแกมรูปขอบขนาน ขนาด 5-10 x 20-30 ซม. ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบมนถึงเรียวแหลม ฐานใบมน เส้นแขนงใบ 14-16 คู่ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน หลัง ใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบยุบลงเห็นเป็นร่อง ก้านใบเมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลไหม้ และมีรอยควั่น ก้านในยาว 0.5-0.8 ซม.

ดอก : มีขนาดเล็กสีเหลืองอมเขียว ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุก 2-6 ดอก ตามบริเวณกิ่งหรือลำต้น ก้านดอกยาวประมาณ 0.5 ซม. กลีบดอก 6 กลีบ เรียงสลับเป็น 2 ชั้นละ 3 กลีบ รูปไข่งองุ้มคล้ายช้อน กว้างประมาณ 0.6 ซม. ยาวประมาณ 1 ซม. กลีบชั้นในเล็กกว่าชั้นนอกเล็กน้อย

ผล : สดหลายเมล็ด ออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-7 ผล รูปกลมรีขนาด 2.5-3 ซม. ผิวเรียบ สีเหลืองอมเขียว ภายในมี 4 เมล็ด ก้านผลยาวประมาณ 2 มม.

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ประโยชน์ : เนื้อไม้ทำเครื่องมือการเกษตร เครื่องเรือน และเครื่องใช้อื่นๆ ปัจจุบันกะโมกเขาจัดเป็นพืชหายาก

อินทนิลน้ำ, ตะแบกดำ, อินทนิล (Queen’s Flower, Queen’s Crepe Myrtle)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Legerstroemia speciosa (L.) Pers.

ไม่ต้นผลัดใบ ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-20 เมตร เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน เปลือกลอกออกเป็นแผ่นบางคล้ายกระดาษ

ใบ : เดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลมแผ่นใบเกลี้ยง ใบร่วงสีเหลือง ส้มหรือแดง

ดอก : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดใหญ่กลีบดอกยับย่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู ปลายดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็ก ๆ ติดตรงกลาง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน

ผล : ผลแห้งแตกกลางพู ผลแก่สีน้ำตาลแดง

คุณค่าทางภูมิสถาปัตยกรรม : เรือนยอดแผ่กว้างแบบรูปร่มและคลุมส่วนของลำต้นเกือบหมด นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและไม่ให้ร่มตามบ้าน สวนสาธารณะ ริมสนามและริมถนน ให้ดอกสวยงาม

ชื่อวงศ์ : Lythraceae

ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง

สรรพคุณทางสมุนไพร : ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ เป็นยาลดความดัน, เปลือก รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย, เมล็ด รสขม แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ, แก่น รสขม ต้มดื่มแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคเบาหวาน, ราก รสขม แก้แผลในปาก ในคอ เป็นยาสมานท้อง

ต้นไม้สัญลักษณ์ : ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนคร

การขยายพันธุ์ : เพาเมล็ด

นิเวศวิทยา : มักขึ้นตามที่ราบลุ่มริมน้ำ ป่าผสมผลัดใบชื้น และป่าดิบชื้น ชอบขึ้นในพื้นที่แสงแดดจัด สภาพดินร่วน ระบายน้ำดี

อโศกเซนคาเบรียล, อโศกอินเดียว (Asoke Tree, Asoka, Mast Tree)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Polyalthia longifolia (Benth.) Hook.f.

ไม่ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร

ใบ : เดี่ยว เรียงสลับใบรูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น

ดอก : ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ หรือตามกิ่ง ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกสีเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม

ผล : เป็นผลกลุ่ม สีเขียว เมื่อสุกสีดำ

คุณค่าทางภูมิสถาปัตยกรรม : ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดรูปกรวยคว่ำหรือรูปทรงกระบอก แน่นทึบ แตกกิ่งลู่ลง นิยมปลูกเป็นแถวเพื่อเป็นไม้ประดับและไม้กันลมตามริมรั้วและขอบสนาม

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ประโยชน์ : น้ำคั้นจากใบใช้กำจัดลูกน้ำยุง

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในอินเดียวและศรีลังกา นำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับได้ทั่วประเทศ ควรปลูกในที่มีแสงแดดตลอดวัน ขึ้นได้ดีดินทั่วไป

หางนกยูงฝรั่ง (Flame Tree, Peacock Flower)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Delonix regia (Bojer ex Hook.) Raf.

ไม่ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเรียบ

ใบ : ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ มีใบย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก

ดอก : ออกเป้นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีแสด แดงหรือเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน

ผล : เป็นฝักแบน แข็ง กว้าง 3-5 ซม. ยาว 30-60 ซม. เมื่อแก่สีดำ

คุณค่าทางภูมิสถาปัตยกรรม : ไม้โตเร็ว เรือนยอดแตกกิ่งแผ่กว้างคล้ายร่ม ออกดอกพร้อมแตกใบอ่อน เป็นพืชที่ชอบแสงและต้องการพื้นที่กว้างในการเจริญเติบโตปลูกประดับสวนและอาคารได้ดี ให้ดอกสวยงาม ไม่เหมาะสำหรับปลูกริมถนนและลานจอดรถเพราะฝักมีขนากใหญ่อาจสร้างความเสียดายได้

ชื่อวงศ์ : Leguminosae – Caesalpinioideae

ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกมีความสวยงาม

ต้นไม้สัญลักษณ์ : เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์น มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพ

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสการ์ ชอบแสง ขึ้นได้ดีในดินทั่วไปที่ระบายน้ำได้ดี

สาเก, ขนุนสำปะลอ (Bread Fruit, Bread Nut)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Artocarpus altilis (Parkinson) Fosberg

ไม่ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลปนเทาทุกส่วนที่มีชีวิตมีน้ำยางสีขาว

ใบ : เดี่ยว ขนาดใหญ่ เรียงเวียน ขอบใบหยักเป็นแฉกลึก 5 ถึง 11 แฉก หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบมีขน ใบอ่อนมีหูใบขนาดใหญ่หุ้ม

ดอก : แยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน เกิดตามซอกใบ ดอกเพศผู้เป็นช่อรูปกระบองยาว 20-30 ซม. ดอกเพศเมียเป็นช่อกลม ออกดอกตลอดปี

ผล : เป็นผลรวม สีเขียวอมเหลือง รูปร่างค่อนข้างกลมหรือกลมรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-20 ซม. ผิวเปลือกมีหนามสั้น ๆ ปกคลุม คุณค่าทาง

ภูมิสถาปัตยกรรม : เรือนยอดเป้นพุ่มแผ่กว้าง ปลูกเป็นไม้ผลและไม้ให้ร่มตามริมถนนและตามอาคารบ้านเรือน

ชื่อวงศ์ : Moraceae
ประโยชน์ : ผลนำมาเชื่อกินเป็นของหวาน หรือกินสุกเป็นผลไม้ เมล็ดต้มหรือย่างกินได้ น้ำยางใช้ยาเรือแคนู

สรรพคุณทางสมุนไพร : น้ำคั้นจากใบเป็นยาลดความดันแก้โรคหืด เนื้อสาเกมีพลังงานสูง ให้แคลเซียมและวิตามินเอจำนวนมาก ช่วยป้องกันโรคหัวใจและกระดูกพรุน

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

นิเวศวิทยา : เป็นพื้นพื้นเมืองของมาเลเซีย อินโดนิเซีย และหมู่เกาะต่าง ๆ ในแปซิฟิกใต้ ควรปลูกในที่แสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินทุกประเภท

สนทะเล (Queensland Swamp Oak, Beefwood, Sea Oak)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Casuarina equisetifolia J.R. & G.Forst

ไม่ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 50 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา เรียบถึงแตกเป็นร่องตื้น หรือลอกเป็นแผ่นเล็ก ๆ

ใบ : เดี่ยว เรียงรอบข้อตามกิ่งสีเขียวซึ่งดูคล้ายใบ ใบเป็นเกล็ดคล้ายหนามรูปสามเหลี่ยม สีขาวอมเขียว

ดอก : แยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้เกิดเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลแดงออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม และกรกฏาคม-กันยายน

ผล : ขนาดเล็ก ผิวแข็งเรียงชิดกันคล้ายลูกตุ้ม ยาว 1-1.5 ซม. เมื่อแก่แล้วแตกออกเป็น 2 ฝาตามรอยประสานภายในมี 1 เมล็ด คุณค่าทาง

ภูมิสถาปัตยกรรม : เรือนยอดรูปกรวยคว่ำหรือไม่มีรูปทรงที่แน่นอน แตกกิ่งเป็นมุมป้านหรือตั้งฉากกับลำต้น ปลายกิ่งลู่ลง ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่ม หรือปลูกเป้นแถวเพื่อกันลม

ชื่อวงศ์ : Casuarinaceae

ประโยชน์ : ลำต้นใช้ทำเสาเข็มสะพาน เสาสะพาน และใช้ในการก่อสร้าง เปลือกทำสีย้อมให้สีน้ำตาลแกมแดง

การขยายพันธุ์ : ปักชำกิ่งและเพาะเมล็ด

นิเวศวิทยา : พบขึ้นตามป่าชายหาดบริเวณริมทะเล ขึ้นได้ดีในดินทรายและแสงแดดจัด

ศรีตรัง (Jacaranda, Blue Jacaranda)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Jacaranda fillicifolia (Anderson) D.Don

ไม่ต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นสีเทาปนน้ำตาลอ่อนค่อนข้างขรุขระหรือแตกเป็นสะเก็ด

ใบ : ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบย่อยมีขนาดเล็ก รูปขอบขนานหรือรูปดาบ

ดอก : ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือเป็นกระจุกตามกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีน้ำเงินอมม่วง ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม

ผล : เป็นฝักแบน รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 2-4 ซม. เมื่อแก่แตกออกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก

คุณค่าทางภูมิสถาปัตยกรรม : เรือนยอดโปร่ง มีรูปทรงไม่แน่นอน มักปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง ให้ดอกสวยงามมาก

ชื่อวงศ์ : Bignoniaceae

ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ

ต้นไม้สัญลักษณ์ : เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี

พิกุล (Bullet Wood, Indian Meadller)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi L.

ไม้ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ไม้โตช้า เรือนยอดกลมหรือรูปไข่ แน่นทึบ เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ให้ร่มตามอาคาร สวนสาธารณะ ริมถนนและเกาะกลางถนน

ใบ : เดี่ยว เรียงสลับ ในรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 2-7 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลมขอบใบเป็นคลื่น หลังใบสีเขียวเข้ม เกลี้ยงเป็นมัน

ดอก : ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมีขนสีน้ำตาลปกคลุม กลีบดอกสีขาวหรือสีครีม มีจำนวนมาก เรียงซ้อนกันสองชั้น เกสรเพศผู้ เชื่อมติดกันเป็นรูปโดม

ผล : รูปไข่เมื่อสุกสีส้มแดง ออกดอกและเป็นผลตลอดปี

ชื่อวงศ์ : Sapotaceae

ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ผลสุกกินได้

สรรพคุณทางสมุนไพร : รากเป็นยาบำรุงกำลัง น้ำคั้นจากใบเป็นยาหยอดแก้เจ็บตา ดอกใช้ปรุงเป้นน้ำหอมประพรมร่างกายหลังอาบน้ำ ดอกแห้งใช้ทำยานัตถุ์และเป็นยาแก้ไข

ต้นไม้สัญลักษณ์ : เป็นตัวไม้ประจำจังหวัดลพบุรี

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

นิเวศวิทยา : ขึ้นตามป่าดิบชื้น ขึ้นได้ดีในดินร่วน และควรปลูกในที่แดดจัด