ขี้ครอก

ชื่ออื่น: ขมงดง, หญ้าผมยุ่ง, ปะเท้า (แม่ฮ่องสอน), ปอเส็ง, เส้ง (ใต้), ปูลุ (มลายู), ขี้หมู (โคราช)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Urena lobata Linn.

ชื่อวงศ์: MALVACEAE

เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบเดี่ยวรูปหัวใจริมจักเว้าแฉกลึก คล้ายใบมะระมีขน ต้นที่ใบแฉกลึก เรียกว่า ขี้ครอกตัวผู้ ต้นที่ใบแฉกตื้น เรียก ขี้ครอกตัวเมีย ดอกสีแดงแกมขาว ลูกกลมเป็นหนามเหนียว

นิเวศวิทยา: ขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่า ตามป่าละเมาะทั่วไป

สรรพคุณ

  • ใบ รสขื่น ต้มจิบแก้ไอ ขับเสมหะ
  • ราก รสเย็น ถอนพิษไข้ แก้พิษร้อน
  • ทั้งห้า รสขมเย็น ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ

ขลู่

Indian Marsh Fleabane

ชื่ออื่น: หนาดวัว, หนวดงิ้ว, คลู (ใต้)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pluchea indica (Linn.) Less.,P.foliolosa DC., Coryza corymbose Roxb., C. indica Mig., Baccharis indica Linn.

ชื่อวงศ์: COMPOSITAW

เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร

ใบ: ใบรูปไข่กลับ ปลายแหลม ขอบหยัก โดยรอบมีขนขาวๆปกคลุม ก้านสั้น

ดอก: ดอกเล็กๆเป็นกระจุกรวมกันเป็นช่อ สีขาวอมม่วง ออกตามง่ามใบ

นิเวศวิทยา: เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่า ที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ชอบดินเค็มหรือกร่อย

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ

  • ใบ เมื่อนำมาผึ่งให้แห้งจะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง ใช้ชงดื่มแทนชา
  • ใบ รสฝาดหอมเมาเค็ม แก้ริดสีดวงทวาร แก้กระษัย ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ เป็นยาอายุวัฒนะ สมานกายนอกและภายใน แก้ไข้ ขับเหงื่อ
  • ดอก รสฝาดหอมเมาเค็ม แก้นิ่ว
  • ราก รสฝาดเมาเค็ม แก้นิ่วในไต ขับปัสสาวะ
  • ทั้งต้น รสหอมฝาดเมาเค็ม แก้นิ่วในไต ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ริดสีดวงทวาร แก้มุตกิดระดูขาว แก้ตานขโมย
  • เปลือกต้น รสเมาขื่นหอม แก้ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร แก้กระษัย ขูดเอาขนออกให้สะอาด ลอกเอาแต่เปลือก หั่นเป็นเส้นมวนสูบ แก้ริดสีดวงจมูก

 

ไก่ไห้

ชื่ออื่น: งัวเลีย (อีสาน), กระจิก (กลาง), กระโปรงแจง (สุโขทัย), ก่อทิง (ชัยภูมิ), ไก่ไห้ (พิษณุโลก), โกโรโกโส, หนามเกาะไก่, หนามนมวัว (โคราช), งวงช้าง (อุดร), ทะลุมอิด (นครสวรรค์), หนามไก่ไห้

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Capparis flavicans Kurz.

ชื่อวงศ์: CAPPARIDACEAE

เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 2-7 ม. กิ่งก้านสาขามาก มีหนามตามข้อ

ใบ: ใบรูปไข่

ดอก: ดอกเดี่ยว สีเหลือง ออกตามง่ามใบ ก้านชูเกสรตัวผู้ยาว สีเหลืองเขียว

ผล: ทรงกลม ตะปุ่มตะป่ะ สีส้ม เมล็ดมีเนื้อสีเหลืองหุ้ม

สรรพคุณ

  • ใบ รสจืด ขับน้ำนม
  • เนื้อไม้ รสจืด ต้มหรือดองสุราดื่ม แก้เส้นเอ็นแข็งตึง ใช้ควันสูดดม แก้วิงเวียน ศีรษะ

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะทั่วไป

โกฐน้ำเต้า

Rhubarb

ชื่ออื่น: ตั้วอึ้ง (จีน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Rheum palmatum Linn. POLYGONACEAE

เป็นไม้พุ่ม ใบดกหนาเป็นแฉกคล้ายใบองุ่น ต้นสูง 3 เมตร ใช้รากของต้นที่มีอายุ 3 ปี นำมาปลอกเปลือกผึ่งให้แห้ง เรียกว่า โกฐน้ำเต้า ขึ้นในประเทศจีน อินเดีย ธิเบต และรัสเซีย

สรรพคุณ

  • รสฝาดมันสุขุม บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ระบายท้อง รู้ถ่ายรู้ปิดเอง แก้ท้องเสีย ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะและอุจจาระให้เดินทางสะดวก แก้ตาเจ็บ แก้ริดสีดวงทวาร เป็นยาระบายที่ดี ไม่มีฤทธิ์ระคายเคืองลำไส้ และยังช่วยสมานลำไส้ได้อีกด้วย

กาสามปีก



ชื่ออื่น: กาสามปีกเล็ก, ลิ่นต้น (กลาง), เกล็ดปลาช่อน (สระบุรี), เกล็ดลิ่น (ใต้), หญ้าสองปล้อง, เกล็ดลิ่นใหญ่ (โคราช)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Phyllodium (Benth.) Desv.

ชื่อวงศ์: FABACEAE

เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-3 ฟุต

ใบ: ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบรูปหอกเรียว ปลายแหลมเหมือนใบถั่วแระ กว้าง 2-3 นิ้ว ยาว 4-5 นิ้ว

ดอก: ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบ ใบประดับคล้ายเกล็ดปลา ทางกลมมนเล็กๆ 2 ใบ ประกบไว้กางออกตั้งฉากกับก้านตรงข้ามกัน เนื้อบางสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีขาวคล้ายดอกถั่ว

ผล: เป็นฝักแบนเล็กๆยาวคอดเป็นข้อๆ

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าเขา

สรรพคุณ:

  • ใบ รสจืด ต้มดื่มแก้ไอ แก้ไขปัสสาวะพิการ ไข้จับสั่น
  • ราก รสจืดเฝื่อน ตำพอกแก้ปวด แก้เคล็ดบวม