กำแพงเจ็ดชั้น

ชื่ออื่น: ลุ่มนก, ตะลุ่มนก, หลุมนก (ใต้), น้ำนอง

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Salacia chinensis Linny. CELASTRACEAE

เป็นไม้เถายืนต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้สีแดงเรื่อๆ มีเส้นวงสีดำ ซ้อนกัน 7-9 ชั้น

ใบ: ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายและโคนแหลม ลักษณะเหมือนเถาตาไก้ (ตาไก่) แต่วงรอบต้นตาไก้จะห่างกว่า และไม่ถึง 7 ชั้น เนื้อกำแพงเจ็ดชั้นจะแน่นและเข้มกว่า

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะทั่วทุกภาค

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ

  • เถา รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มหรือดองสุราดื่ม บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ แก้ประดง ขับผายลม ฟอกและขับโลหิตระดู
  • ราก รสเมาเบื่อฝาด ต้มหรือดองสุราดื่ม ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต ดับพิษร้อนของโลหิต

การบูร

การบูร

Camphor Tree, Laurel Camphor, Gum Camphor, Formosan Camphor

ชื่ออื่น: อบเชยญวน, พรมเส็ง (เงี้ยว), เจียโล่ (จีน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Cinnamomum camphor Nees ex Eberm.

ชื่อวงศ์: LAURACEAE

เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 15-30เมตร

ใบ: ดกทึบ ใบเดี่ยว สีเชียว ยาว 7-10 ซม. รูปรีปลายแหลม

ดอก: ดอกช่อ สีขาวอมเขียวหรือเหลือง ขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ในเดือน มิ.ย.-ก.ค.

ผล: ขนาดเล็กมีเมล็ด 1 เมล็ด ผิวสีชมพูหรือน้ำตาลม่วง

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าดงดิบเขาสูง

ขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและกิ่งตอน

สรรพคุณ

  • เปลือกและราก นำมากลั่นด้วยไอน้ำ ได้การะบูนดิบ
  • ผลการบูร เป็นเกล็ดกลมเล็กๆสีขาวแห้ง อาจจับกันเป็นก้อนร่วนๆแตกง่าย ทิ้งไว้ในอากาศจะระเหิดไปหมด รสร้อนปร่าเมา บำรุงธาตุ ทำให้อาหารงวด ขับเสมหะและลม แก้ธาตุพิการ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้เลือดลม ชูกำลัง แก้คัน แก้โรคตา ขับเหงื่อ แก้ปวดตามเส้น แก้เคล็ดขัดยอก แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เป็นยาชาเฉพาะที่ ใช้ปรุงกลิ่นรสในยาอื่น ใช้ในการทำพลาสติกและเซลลูลอยด์ วางไว้ในห้อง ไล่แมลงรบกวน

กระพี้เขาควาย

ชื่ออื่น: กระพี้, เกล็ดเขาควาย, เกล็ดดำ, เวียด (เหนือ), บี้พง, จักจั่น, อีเม็ง, กำพี้ (หล่มสัก)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Dalbergia cultrata Grah

ชื่อวงศ์: PAPILIONEAE

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่

ใบ: ใบเดี่ยว เรียวเล็กยาวปลายแหลม

ดอก: ดอกช่อแน่นดก ฐานดอกสีม่วงแดง กลีบดอกสีชมพู คล้ายดอกมะเฟือง

เนื้อไม้: เนื้อไม้เป็นชั้นๆ คล้ายเขาควาย สีเหลืองเข้ม

สรรพคุณทางสมุนไพร:

  • เนื้อไม้ รสจืดเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้กลับ ถอนพิษสำแดง แก้ร้อนใน

การขยายพันธุ์: ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป

 

กระท้อน(Yellow Sentol)


ชื่ออื่น : สะท้อน, หมากต้อง (อีสาน), สะโต, สะตู (ใต้)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Sandoricum nervosum Car.

ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่

ใบ : ใบประกอบ มีใบย่อยขนาดใหญ่ 3 ใบ ใบแก่สีแดง

ดอก : ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อ

ผล : ผลทรงกลมสีเหลืองเปลือกหนา

เมล็ด : มีเนื้อสีขาวหุ้มเมล็ด

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • ใบ รสเปรี้ยวเย็นฟาด ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
  • เปลือกต้น รสเปรี้ยวเย็นฟาด รักษาโรคผิวหนัง
  • เปลือกผล รสเปรี้ยวเย็นฟาด เป็นยาสมาน
  • ราก รสเปรี้ยวเย็นฟาด แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้รากสาด

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและกิ่งตอน

นิเวศวิทยา : เกิดตามป่าในเขตร้อนทั่วไป