ข้าวโพด

Corn, Indian Cone, Maize

ชื่ออื่น: ข้าวแข่ (แม่ฮ่องสอน), เง็กบี้, เง็กจกซู่ (จีน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Zea mays Linn.

ชื่อวงศ์: GRAMINEAE

เป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ต้นอวบกลมตั้งตรง เนื้อฟ่าม มีหลายพันธุ์ เป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่น

ใบ: ใบทรงขนานยาวปลายแหลม มีขนสากทั้งใบ

ผล: ผลเป็นฝักทรงกระบอก มีเมล็ดเกาะติดโยรอบ

สรรพคุณ

  • เมล็ด บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ ปอด ขับปัสสาวะ บดพอกแผล
  • ซัง ซังแก้งต้มเอาน้ำดื่ม หรือเผาเป็นถ่าน รับประทาน รสชุ่ม บำรุงม้าม ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้บิด ท้องร่วง
  • ต้นและใบ ต้มเอาน้ำดื่ม ขับนิ่ว
  • เกสรตัวเมีย (ไหมข้าวโพด) ขับน้ำดี บำรุงตับ แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน แก้ไตอักเสบ แก้บวมน้ำ แก้โรคความดันโลหิตสูง ขับนิ่วในถุงน้ำดี แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้โพรงจมูกอักเสบ ใช้ขับปัสสาวะ ทำให้เนื้อเยื่อภายในชุ่มชื้น เหมาะสำหรับ(ุ้ที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง
  • ราก ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ แก้อาเจียนเป็นเลือด

ข่า

Galangal, Greater Galangal, False Galangal

ชื่ออื่น: กฏุกโรหินี, ข่าใหญ่, ข่าหลวง, ข่าหยวก (เหนือ), เสะเออเคย, สะเอเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ข่าตาแดง (กลาง)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Alpinia siamensis K.Schum. (ข่าใหญ่), A.galanga Swartz. (ข่า), Languas galanga (Linn.) Stuntz. (ข่าตาแดง)

ชื่อวงศ์: ZINGIBERACEAE

เป็นพืชล้มลุกจำพวกเหง้า เหง้าใหญ่ขาวอวบ ต้นสูงประมาณ 2 เมตร

ใบ: ใบรูปใบพายปลายแหลม ยาว 20-50 ซม. ขอบเรียบ มีขนเล็กน้อย ก้านใบสั้น มีกาบใบหุ้มลำต้นบนดิน

ดอก: ดอกช่อออกที่ยอด ยาว 15-30 ซม. ดอกขนาดเล็ก สีขวอมเขียว อยู่กันอย่างหลวมๆ

ผล: ผลกลมรีขนาด 1 ซม. สีแดงส้ม แก่จัดสีดำ มีเมล็ด 2-3 เมล็ด

*ข่าตาแดง เหมือนกับข่าทั่วไป แต่ต้นเล็กกว่าเล็กน้อย โคดต้นสีแดง หน่อออกใหม่และตาสีแดง รสและสรรพคุณมีฤทธิ์แรงกว่าข่าธรรมดา

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าดงดิบเขาทั่วไป

สรรพคุณ

  • ใบ รสเผ็ดร้อน ฆ่าพยาธิ กลากเกลื้อน ต้มอาบ แก้ปวดเมื่อยตามข้อ
  • ดอก รสเผ็ดร้อน แก้กลากเกลื้อน
  • ผล รสเผ็ดร้อนฉุน ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง แก้คลื่นเหียนอาเจียน ท้องอืดเฟ้อ แก้บิดมีตัวและไม่มีตัว
  • หน่อ รสเผ็ดร้อนหวาน แก้ปวดท้อง จุกเสียดแน่น ขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษ แก้บิด แก้ตกโลหิต แก้ลมป่วง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำคาวปลา แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ตำกับมะขามเปียกและเกลือให้สตรีรับประทานหลังคลอด ขับเลือดน้ำคาวปลา ขับรก
  • ต้นแก่ รสเผ็ดร้อนซ่า ตำผสมน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อตามข้อ แก้ตะคริว
  • ราก รสเผ็ดร้อนปร่า ขับเลือดลม ให้เดินสะดวก แก้เหน็บชา แก้เสมหะและโลหิต

 

 

กะเม็งตัวผู้

ชื่ออื่น: ห้อมเกี้ยวคำ (เชียงใหม่), อึ้งปั้วกี่เช้า (จีน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Wedelia chinensis Merr.

ชื่อวงศ์: COMPOSITEA

เป็นไม้ล้มลุก

ลำต้น: ลำต้นเลื้อยยอด ตั้งสูงประมาณ 1-2 ฟุต

ใบ: ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายและโคนแหลม ขอบใบหยักตื้นๆ ห่างๆกัน มีขนประปราย

ดอก: ดอกเป็นกระจุกกลม สีเหลืองออกเดี่ยวๆที่ปลายยอด ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร

ผล: ผลเล็กๆยาวๆ 5 มิลลิเมตร ผิวไม่เรียบ

สรรพคุณทางสมุนไพร:

  • ใบ รสเอียน ต้มหรือชงรับประทาน แก้ไอ แก้ปวดศีรษะ บำรุงร่างกาย แก้โรคผิวหนัง แก้ผมร่วง
  • ทั้งต้น รสเอียน ทำเป็นผงหรือยาชงรับประทาน แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต บำรุงโลหิต แก้กระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะคราก ทำให้น้ำบริสุทธิ์ ตำผสมข้าวพอกแก้บวม

การขยายพันธุ์: ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยา: เกิดตามที่ลุ่มชื้นแฉะ

กะเม็งตัวเมีย

ชื่ออื่น: คะเม็ง, ห้อมเกี้ยว, ล้อม (เหนือ), ใบลบ (ใต้), กะเม็งตัวเมีย, หญ้าสับ (เหนือ), บั้งกีเช้า (จีน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Eclipta Alba (L.) Hassk

ชื่อวงศ์: COMPOSITAE

เป็นไม้ล้มลุก

ลำต้น: ตั้งตรง สูงประมาณ 1-2 ฟุต

ใบ: ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน เป็นคู่ๆรูปหอกแคบยาวเรียว ริมใบหยักฟันเลื่อย ผิวเกลี้ยง ไม่มีก้าน ปลายแหลม

ดอก: ดอกช่ออัดกันแน่นเป็นกระจุกรูปหัวแหวนทรงกลม สีขาว

ผล: รูปลูกข่างสีดำ ปลายมีระยางค์เป็นเกล็ดยาว 3 มม.

นิเวศวิทยา: เกิดตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ที่รกร้างว่างเปล่า ตามไร่นาทั่วไป

ขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ

  • ต้น รสขมเฝื่อนเย็น แก้ลมให้กระจาย แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้โลหิตซึ่งทำให้ร้อน ห้ามเลือด บำรุงโลหิต แก้โรคโลหิตจาง แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด แก้ไอกรน แก้ริดสีดวงทวาร แก้เจ็บคอ ใช้ทาพอกแก้ผื่นคัน แก้ฝีพุพอง รักษาแผลตกเลือด
  • ใบ รสขมเฝื่อน เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้จุกเสียดแน่น
  • ราก รสขมเฝื่อน ขับลมในลำไส้ แก้อาเจียนเป็นเลือด บำรุงร่างกาย แก้โรคตับและม้ามพิการ ใช้ทาแผลฆ่าเชื้อ
  • ดอก รสขมเฝื่อน แก้ดีซ่าน เป็นยาชาเฉพาะที่ ระงับปวด เคี้ยวอม แก้ปวดฟัน
  • ลูก รสขมเฝื่อน ขับผายลม

กระวานเทศ, ลูกเอ็น (Cardamon)

ชื่ออื่น: กระวานขาว, กะวาน, ลูกเอ็น, ลูกเอ็ล

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Elettaria cardamomum Maton.

ชื่อวงศ์: ZINGIBERACEAE

ลำต้น: ต้นแบน สูง 1.5-3.6 เมตร มีกาบหุ้มลำต้น

ใบ: ใบรูปหอก

ดอก: ดอกเป็นหลอด พองออกเป็นกระเปาะสีขาวแกมเขียว เป็นช่อทรงพุ่ม ออกจากเหง้าที่ติดอยู่กับดิน

ผล: รูปไข่หัวท้ายแหลม โตขนาดปลายนิ้วก้อย ในผลจะมีเมล็ดสีน้ำตาลอมดำอัดกันเป็นกลุ่ม

สรรพคุณทางสมุนไพร:

  • ใบ รสเผ็ด เป็นยากระตุ้น ขับลมลงสู่เบื้องล่าง แก้ไข้เซื่องซึมลดไข้
  • เหง้า รสเผ็ด ขับพยาธิที่อยู่ในเนื้อให้ออกมาทางผิวหนัง
  • ราก รสเผ็ดร้อน ขับเลือดที่เน่าเสีย
  • ผล รสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุ กระจายโลหิต เสมหะ ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้อาการเกร็งของลำไส้

การขยายพันธุ์: ด้วยวิธีแยกกอ

นิเวศวิทยา: เกิดในป่าดงดิบเขาสูง นำเข้าจากเมืองเมเลบา ประเทศอินเดียและศรีลังกา

กระเทียม (Garlic)


ชื่ออื่น: หอมเทียม (เหนือ), ปะเซ้วา (แม่ฮ่องสอน), ลสุนา (สันสกฤต)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Allium sativum Linn.

ชื่อวงศ์: ALLIACEAE

เป็นพืชล้มลุกประเภทหัว

กลีบ: มีกลีบย่อยหลายกลีบติกกันแน่น เนื้อสีขาว ถ้ามีกลีบเดียวเรียก “กระเทียมโทน”

ใบ: ใบเดี่ยวแบนยาวรูปขนานเรียวแหลม

ดอก: ดอกเป็นกระจุกที่ปลายก้าน สีขาวอมเขียว

นิเวศวิทยา: ปลูกได้ดีทางภาคเหนือและอีสาน

สรรพคุณทางสมุนไพร:

  • ใบ รสร้อนฉุน กระทำให้เสมหะแห้ง กระจายโลหิต แก้ลมปวดมวนในท้อง
  • หัว รสร้อนฉุน แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้แผลเน่า เนื้อร้าย บำรุงธาตุ ขับโลหิตระดู แก้ปวดหู แก้หูอื้อ ระบายพิษไข้ แก้โรคในปาก แก้คออักเสบ แก้หืด แก้อัมพาต แก้จุกเสียด แก้ขัดปัสสาวะ บำรุงปอด ปอดบวม แก้น้ำลายเหนียว แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ฟกบวม แก้สะอึก

การขยายพันธู์: ใช้หัว

กระทือ


ชื่ออื่น : กะทือ, กระทือบ้าน, กระทือป่า, กะแอบ, แฮวดำ, เฮียวดำ, กะแวน, กะแอน (เหนือ), เฮียงแดง (แม่ฮ่องสอน)

ชื่ออังกฤษ : Wild Ginger, Martinique Ginger

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbei Rosc.Smith.

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

เป็นไม้ล้มลุกประเภทเหง้า กระทือป่ามีฤทธิ์แรงกว่ากระทือบ้าน สรรพคุณรวมเหมือนกัน

ใบ : ออกซ้อนกันเป็นแผง ใบเรียวยาว สีเขียวแก่

ดอก : ดอกช่อออกจาก เหง้าใต้ดิน กลีบเลี้ยงสีแดงปนเขียว

สรรพคุณทางสมุนไพร

  • เหง้า รสขมขื่นปร่า บำรุงน้ำนมให้บริบูรณ์ แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด ขับผายลม ขับปัสสาวะ เหง้ากระทือหมกไฟฝนกับน้ำปูนใสรับประทาน แก้บิดปวดเบ่ง แก้เสมหะเป็นพิษ แก้แน่นหน้าอก กล่อมอาจม ขับน้ำย่อยให้ลงสู่ลำไส้ แก้จุกเสียด
  • ราก รสขมขื่นเล็กน้อย แก้ไข้ตัวเย็น
  • ต้น รสขมขื่น เจริญอาหาร
  • ใบ รสขมขื่นเล็กน้อย ขับเลือดเน่าในมดลูก ขับน้ำคาวปลา
  • ดอก รสขมขื่น แก้ไข้เรื้อรัง ไข้ตัวเย็น ไข้จับสั่น แก้ผอมเหลือง
  • เกสร รสเฝื่อนปร่า แก้ลม บำรุงธาตุ

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยแยกเหง้า

นิเวศวิทยา : เกิดตามป่าดงดิบชื้นทั่วไป

กระเจี๊ยบมอญ


ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบขาว, กระเจี๊ยบ, มะเขือมอญ, มะเขือทะวาย, มะเขือพม่า, มะเขือละโว้, มะเขือมื่น

ชื่ออังกฤษ : Okra, Lady’s finger, Gumbo

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Abelmoschus esulentus (L.) Moench.

ชื่อวงศ์ : MALVACEAE

เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1-2 เมตร

ใบ : ใบโตหยักลึก มีขนคลุม มีขนคลุม

ดอกสีเหลืองโต ลูกกลมยาว โคนตรงปลายแหลม เป็นจีบ มีขนรอบ

ผล : เมื่อแก่จะแตกออกเป็น เมล็ดกลม สีดำ

นิเวศวิทยา : ปลูกได้ในประเทศเขตร้อนทั่วไป

สรรพคุณทางยา :

  • ผล รสหวานเย็น บดเป็นผง ชงน้ำร้อน หรือปั้นเม็ด รับประทานรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  • สารสำคัญ มี สารเพกทินและเมือก

การขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ด

ก้นจ้ำ


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Bidens biternata (Lour.) Merr. & Sherff ex Sherff.

ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

เป็นพืชล้มลุก สูง 1 – 2 ม.

ลำต้น : เป็นเหลี่ยม มีขนประปราย ใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียวแหลมโคนสอบ ขอบหยัก ฟันปลา ผิวมีขนบางๆทั้งสองข้าง

ดอก : ดอกเป็นกระจุก สีเหลือง กลีบเป็นฝอย ก้านดอกแข็ง ยาวประมาณ 5 – 10 ซม.

ผล : ยาว ปลายมีรยางค์ 2 – 5 อัน ผิวมีขนสั้น ๆ

สรรพคุณทางสมุนไพร : รสจืดเย็น ใบสดตำคั้นเอาน้ำหยอดตา แก้ตามัว ตำพอกแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

นิเวศวิทยา : ขึ้นอยู่ตามริมทางสวนไร่นาทั่วไป ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ผักพาย(Yellow Burhead)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Butomopsis latifolia (D. Don) Kunth

ชื่อวงศ์ : LIMNOCHARITACEAE

เป็นไม้ล้มลุก ต้นสูงได้ถึง 1 เมตร

ใบ : คล้ายรูปใบพายสมชื่อ แผ่นใบมีนวลสีขาวปกคลุม

ดอก : ช่อดอกออกจากซอกกาบใบชูตั้งขึ้น ดอกย่อยเรียงเป็นกระจุกต่าง ๆ กันเป็นชั้น ทยอยบานจากโคนไปยังปลายช่อ ดอกสีขาว มี 3 กลีบบอบบาง เมื่อผลิบานหมดแล้วจะติดผลและตายไป

ประโยชน์ : ชาวอีสานนิยมเก็บยอดและช่อดอกอ่อนที่ยังไม่บานมากินเป็นผักสด หรือลวกกินกับน้ำพริก ลาบ หรือใส่ในแกงหน่อไม้ มีมากในฤดูฝน

การขยายพันธุ์ : ผักพายชอบดินเหนียวชุ่มชื้น มีน้ำสะอาดตื้น ๆ ประมาณ 15 ซม. ขยายพันธุ์ด้วยการแยกกอมาปลูกใหม่ หรือซื้อที่มีขายในท้องตลาดมาลองปักในดินเหนียว ใส่ในอ่างบัวที่มีน้ำตื้น ๆ ไม่นานก็จะแตกราก ผลิดอก และติดเมล็ดได้ เมื่อต้นตาย ถ้ามีเมล็ดร่วงหล่นอยู่บ้าง พอถึงฤดูฝนก็จะงอกและเติบโตใหม่

นิเวศวิทยา : วัชพืชน้ำที่ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นมากนัก