ขี้กาแดง

ชื่ออื่น: แตงโมป่า (กาญจนบุรี), มะกาดิน (ชลบุรี), กายิงอ (มลายู)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Gymnopetalum integrifolim Kurtz, Trichosanthes tricuspidata Lour

ชื่อวงศ์: CUCURBITACEAE

เป็นไม้เถาพาดพันตามต้นไม้อื่น

ใบและเถา: ใบและเถาคล้ายเถาฟักข้าว ใบเดี่ยวรูปไข่ เกือบกลม 5 เหลี่ยม หรือแฉกลึก 5 แฉก โคนเว้ารูปหัวใจค่อนข้างเรียบ ปลายแหลมผิวหยาบสากด้านล่างมีขน ยาวประมาณ 4 นิ้ว แถามีมือจับ

ดอก: ดอกเพศผู้เพศเมียแยกจากกัน ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อยาวประมาณ 10-20 ซม. ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว ซานดอกเป็นหลอดยาว กลีบรูปไข่กลับปลายแหลมสีขาว

ผล: ผลกลมรี เมื่อสุกสีแดง เมื่อแห้งเนื้อโปร่งเหมือนฟองน้ำ

นอเวศวิทยา: เกิดตามป่าทั่วไป

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ

  • ใบ รสขม ตำพอกฝี ทาแก้โรคผิวหนังอักเสบ ตำคั้นเอาน้ำให้เด็กกิน แก้ท้องเสีย
  • หัว รสขม บำรุงหัวใจ แก้ม้ามย้อย ตับโต หรืออวัยวะในช่องท้องบวมโต
  • ราก รสขม บำรุงน้ำดี แก้ไข้ ดับพิษไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้จุกเสียด บดทา ฝีฝักบัว แก้ตับโต ม้ามย้อย อวัยวะในช่องท้องบวมโต
  • ลูก รสขม บำรุงน้ำดี แก้พิษเสมหะและโลหิต ถ่ายพิษเสมหะให้ตก แก้พิษตานซาง แก้ตานขโมย ขับพยาธิ เป็นยาถ่ายอย่างแรง ไข้ควันรม แก้หืด
  • ทั้งเถา รสขม ต้มอาบ แก้เม็ดผดผื่นคัน แก้ไข้หัว ไข้พิษไข้กาฬ ต้มดื่มบำรุงน้ำดี ขับเสมหะ ดับพิษ แก้ไอเป็นเลือด

ขี้กาขาว

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Bryonia lasiniosa Linn.

ชื่อวงศ์: CUCURBITACEAE

เป็นไม้เถาขนาดเล็ก เลื้อยตามผิวดิน

เถาและใบ: เถาและใบมีขนดกหนาตลอด

ดอก: ดอกเดี่ยวสีขาว

เมล็ด: เมล็ดสีดำ เนื้อหุ้มเมล็ดสีแดง

นิเวศวิทยา: เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ

  • ใบ รสขม ตำสุมกระหม่อมเด็ก แก้หวัดคัดจมูก
  • เถา รสขม บำรุงน้ำดี ดับพิษเสมหะและโลหิต ชำระเสมหะให้ตก ฆ่าเรือดไรหิดเหา
  • ดอก รสขม บำรุงกำลัง
  • ลูก รสขม ถ่ายพิษตานซาง ขับพยาธิ ถ่ายเสมหะ แก้ตับปอดพิการ
  • ราก รสขม ต้มดื่ม บำรุงร่างกาย บดเป็นผงรับประทาน แก้ตับหรือม้ามโต รากสด ตำผสมน้ำมันทาแก้โรคเรื้อน

ขยุ้มตีนหมา

ชื่ออื่น: เถาสายทองลอย (สิงห์บุรี), ผักบุ้งเล (พังงา), เพาละมูลู (ยะลา)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ipomoea pes-tigrdis Linn.

ชื่อวงศ์: CONVOLVULACEAE

เป็นไม้เถาล้มลุกอายุปีเดียว ตลอดทั้งต้นคลุมด้วยขนแข็งสีขาว

ใบ: ใบเดี่ยวจักลึก 7-9 แฉก

ดอก: ดอกเหมือนรอยเท้าสุนัขออกเป็นช่อง่ามใบ สีขาว

ผล: ผลรูปไข่

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยา: เกิดตามที่รกร้างทั่วไป

สรรพคุณ

  • ทั้งต้น รสเฝื่อนเมา เป็นยาระงับพิษสุนัขบ้า ตำผสมกับเนยปิดหัวฝี
  • ราก รสเฝื่อนเมา แก้โรคไอเป็นเลือด
  • เมล็ด รสเฝื่อนเมา แก้โรคท้องมาน

ขมิ้นเครือ

ชื่ออื่น: ขมิ้นฤาษี, ผ้าร้ายห่อทอง, เดิมวอโกรด (เขมร)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Kreagelisia flava (Linn.) Merr.

ชื่อวงศ์: MENISPERMACEAE

เป็นไม้เถาพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถากลม เปลือกชุ่มน้ำ ผิวสีน้ำตาลเหลือง เนื้อสีเหลือง มีเส้นรัศมีออกโดยรอบ กลิ่นเหมือนขมิ้น

ใบ: ใบรูปหอกกว้าง ปลายเรียวแหลม เนื้อหนาสีเขียวมัน

สรรพคุณ

  • ใบ รสร้อนฝาดเฝื่อน ขับโลหิตระดูที่เสียเป็นลิ่ม เป็นก้อนให้ออกมา ขับน้ำคาวปลา
  • ดอก รสฝาดเฝื่อน แก้บิดมูกเลือด
  • เถา รสฝาดเฝื่อน แก้ดีพิการ ขับผายลม ทำให้เรอ ต้มดื่ม แก้ไข้ ร้อนใน แก้ท้องเสีย เนื่องจากอาหารไม่ย่อย
  • ราก รสฝาดเฝื่อน ขับลมอัมพฤกษ์ บำรุงน้ำเหลือง ฝนหยอดตา แก้ริดสีดวงตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัน ตาอักเสบ

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าดงดิบเขาและป่าเบญจพรรณทั่วไป

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

กำลังช้างเผือก

ชื่ออื่น: กำลังช้างสารเถา, โนรา, กาซองวาเซอะ (ใต้), กำลังช้างสาร, พญาช้างเผือก

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hiptage cancans Hook.f., H. benghalensis (Linn.) Kurz. MALPIGHIACEAE

เป็นไม้เถายืนต้นขนาดย่อม สูงประมาณ 8 เมตร

ใบ: ใบเดี่ยว เว้ากลางใบลึกจนเกือบเป็นใบแฝด คล้ายใบกาหลง เนื้อใบค่อนข้างหนามีขน ขอบมีขนสีทองเป็นเส้นโดยรอบ

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณทั่วไป

สรรพคุณ

  • เนื้อไม้ รสมันร้อนขื่น บำรุงธาตุ แก้อ่อนเพลีย บำรุงโลหิต บำรุงเส้นเอ็น เป็นยาอายุวัฒนะ

กำแพงเจ็ดชั้น

ชื่ออื่น: ลุ่มนก, ตะลุ่มนก, หลุมนก (ใต้), น้ำนอง

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Salacia chinensis Linny. CELASTRACEAE

เป็นไม้เถายืนต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้สีแดงเรื่อๆ มีเส้นวงสีดำ ซ้อนกัน 7-9 ชั้น

ใบ: ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายและโคนแหลม ลักษณะเหมือนเถาตาไก้ (ตาไก่) แต่วงรอบต้นตาไก้จะห่างกว่า และไม่ถึง 7 ชั้น เนื้อกำแพงเจ็ดชั้นจะแน่นและเข้มกว่า

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะทั่วทุกภาค

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ

  • เถา รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มหรือดองสุราดื่ม บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ แก้ประดง ขับผายลม ฟอกและขับโลหิตระดู
  • ราก รสเมาเบื่อฝาด ต้มหรือดองสุราดื่ม ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต ดับพิษร้อนของโลหิต

กำจาย

Tripod Plant

ชื่ออื่น: หนามจาย, มะเบ๋น, หนามข้อง, ยวง, วัวทลึงใหญ่, กะจาย, ขี้แรด, ขี้คาก (แพร่), หนามแดง (ตราด), จาย (ปัตตานี)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Caesalpinia digyna Rottle. CAESALPINACEAE

เป็นไม้เถา มีหนามตามเถาและกิ่งก้านจำพวกหนามหันส้มป่อย

ใบ: ใบเหมือนใบส้มป่อย มีหนามแหลมโค้งงอเหมือนเล็บเหยี่ยวสีดำ

ดอก: ดอกช่อสีเหลือง ยาว 20-30 ซม.

นิเวศวิทยา: ขึ้นตามป่าโปร่งทั่วไป

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ

  • ราก รสเผ็ดขมเบื่อเล็กน้อย ขับโลหิตระดู แก้พิษงู พิษแมลงกัดต่อย ดับพิษทั้งปวง แก้ไข้ รักษาบาดแผล แก้แผลเรื้อรังเน่าเปื่อย

แกแล

ชื่ออื่น: ไม้เหลือง, แกก้อง (แพร่), แกล (ใต้), แก่นเข

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Cudrania javanensns Trecul.

ชื่อวงศ์: MORACEAE

เป็นไม้เถาทรงพุ่มเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่ มีหนามแข็งเรียวยาวตามง่ามใบ เนื้อไม้สรขาว แก่นสีน้ำตาล ใช้แก่นเป็นสีย้อมผ้าให้สีเหลือง

ใบ: ใบเดี่ยวรูปหอกปลายแหลม ขอบเรียบผิวมัน ออกเรียงสลับรอบกิ่ง

ดอก: ดอกเล็กๆออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบ

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณทั่วไป

สรรพคุณ:

  • แก่น รสขมปร่าขื่น บำรุงน้ำเหลืองให้ปกติ แก้พุพอง บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ

กะทกรก

ชื่ออื่น: เสาวรส, เถาสิงโต (ชัยนาท), รกฟ้า, กระโปรงทอง (ใต้), รกช้าง (พังงา), ผักแคบฝรั่ง (ศรีราชา), ละพุยาบี (มลายุ), เถาเงาะ, อังนก

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Passiflora foetida Linn.

ชื่อวงศ์: PASSIFLORACEAE

เป็นไม้เถาขนาดเล็ก มีขนอ่อนๆปกคลุม

ใบ: ใบเดี่ยวเป็นรูปหัวใจ ปลายแยกเป็นสามแฉก

ดอก: ดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงเป็นร่างแหสีเขียว ดอกสีขาว โคนเกสรสีม่วง

ผล: ผลกลม เปลือกโปร่ง เมื่อแก่มีสีส้ม

เมล็ด: เมล็ดสีดำ เนื้อหุ้มเมล็ดรสหวานอมเปรี้ยว

สรรพคุณทางสมุนไพร: ทั้งต้นเป็นพิษ ต้องต้มก่อนกิน

  • ใบ รสเมาเบื่อ ตำพอกฆ่าเชื้อบาดแผล แก้โรคผิวหนัง หิด
  • ทั้งต้น รสเมาเบื่อ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้บวม
  • ลูก ลูกสุกรสหวานเย็น แก้ปวด บำรุงปอด ลูกดิบ รสเมาเบื่อ
  • ดอก รสเมา ขับเสมหะ แก้ไอ
  • พิษ ต้นสดทั้งต้น รสเมาเบื่อ มีสารพิษ Cyanogenetic glycoside ทำให้ตายได้ พิษจะสลายตัวเมื่อถูกความร้อน

การขยายพันธุ์: ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยา: เกิดอยู่ตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป

กระทุงหมาบ้า


ชื่ออื่น : คันชุนสุนัขบ้า, ผักฮ้วนหมู, เครือเขาหมู (เหนือ), มวนหูกวาง (เพชรบุรี), เถาคัน (ใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dregea volubilis Benth.ex Hook., Watlakata volubilis Stapf.

ชื่อวงศ์ : ASCLEPLADACEAE

เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถากลม สีน้ำตาลอ่อน

ใบ : มีลักษณะเป็นใบกลม โตปลายแหลม โคนรูปหัวใจ คล้ายใบบอระเพ็ด แต่หนาและแข็งกว่า ออกเป็นคู่

ดอก : ออกเป็นช่อออกตามง่ามใบ ขนาดเล็ก

ผล : เป็นฝักรูปใข่ยาว หัวแหลม

เมล็ด : กลมรี

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • ลำต้น รสเมาเอียนติดขม ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ กระทุ้ง พิษไข้หัว ไข้กาฬ ดับพิษฝี ขับปัสสาวะ แก้พิษดีกำเริบ ละเมอเพ้อกลุ้ม ปวด ศีรษะเซื่อมซึม น้ำตาตกหนัก แสบร้อนหน้าตา ช่วยให้นอนหลับ
  • ใบ รสเมาเบื่อเอียนติดขม แก้แผลน้ำร้อนลวก แก้บวม แก้ฝี
  • ราก รสเมาเบื่อเอียนติดขม ทำให้อาเจียน ขับพิษได้เช่นเดียวกับเถากระทุ้งพิษ แก้ไข้พิษ

การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ดและปักขำ

นิเวศวิทยา : เกิดตามป่าดงดิบทั่วไป