ขี้กาแดง

ชื่ออื่น: แตงโมป่า (กาญจนบุรี), มะกาดิน (ชลบุรี), กายิงอ (มลายู)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Gymnopetalum integrifolim Kurtz, Trichosanthes tricuspidata Lour

ชื่อวงศ์: CUCURBITACEAE

เป็นไม้เถาพาดพันตามต้นไม้อื่น

ใบและเถา: ใบและเถาคล้ายเถาฟักข้าว ใบเดี่ยวรูปไข่ เกือบกลม 5 เหลี่ยม หรือแฉกลึก 5 แฉก โคนเว้ารูปหัวใจค่อนข้างเรียบ ปลายแหลมผิวหยาบสากด้านล่างมีขน ยาวประมาณ 4 นิ้ว แถามีมือจับ

ดอก: ดอกเพศผู้เพศเมียแยกจากกัน ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อยาวประมาณ 10-20 ซม. ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว ซานดอกเป็นหลอดยาว กลีบรูปไข่กลับปลายแหลมสีขาว

ผล: ผลกลมรี เมื่อสุกสีแดง เมื่อแห้งเนื้อโปร่งเหมือนฟองน้ำ

นอเวศวิทยา: เกิดตามป่าทั่วไป

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ

  • ใบ รสขม ตำพอกฝี ทาแก้โรคผิวหนังอักเสบ ตำคั้นเอาน้ำให้เด็กกิน แก้ท้องเสีย
  • หัว รสขม บำรุงหัวใจ แก้ม้ามย้อย ตับโต หรืออวัยวะในช่องท้องบวมโต
  • ราก รสขม บำรุงน้ำดี แก้ไข้ ดับพิษไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้จุกเสียด บดทา ฝีฝักบัว แก้ตับโต ม้ามย้อย อวัยวะในช่องท้องบวมโต
  • ลูก รสขม บำรุงน้ำดี แก้พิษเสมหะและโลหิต ถ่ายพิษเสมหะให้ตก แก้พิษตานซาง แก้ตานขโมย ขับพยาธิ เป็นยาถ่ายอย่างแรง ไข้ควันรม แก้หืด
  • ทั้งเถา รสขม ต้มอาบ แก้เม็ดผดผื่นคัน แก้ไข้หัว ไข้พิษไข้กาฬ ต้มดื่มบำรุงน้ำดี ขับเสมหะ ดับพิษ แก้ไอเป็นเลือด

ข้าวตอกแตก

ชื่ออื่น: ตีนตั่ง, ตีนตั่งตัวผู้ (เหนือ), กรูด (สุราษฎร์), งวงซุ่ม, งวงสุ่ม, ฮวงสุ่ม, งวงสุ่มขาว (อีสาน), เมี่ยงชะนวนไฟ, สังขยาขาว (สุโขทัย), ดอกโรค (เลย), ตะกรูด (นครศรีฯ), เถาวัลย์นวล (ราชบุรี), ประโยค (ตราด), มันแดง (กระบี่), หน่วยสุด (ใต้)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Calycopteris Floribunda Lamk.

ชื่อวงศ์: COMBRETACEAE

เป็นไม้จำพวกเถาพุ่มเลี้อยขนาดกลาง

ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายแหลม โคนมน เนื้อคล้ายกระดาษ ท้องใบมีขนสีน้ำตาลอ่อนออกตรงข้ามกัน กิ่งอ่อนมีขน

ดอก: ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบรูปหอกปลายแหลม 5 แฉก สีเขียวอมเหลือง

ผล: ผลรูปรี ปลายผลมีกลีบรองดอก 5 กลีบ มีขนมาก

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะทั่วไป

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ

  • ใบ รสเฝื่อน เจริญอาหาร สมาน ขับพยาธิ ระบายท้อง แก้ปวดท้อง จุกเสียด แก้บิด แก้ไข้ป่า ทาแผลเรื้อรัง
  • ราก รสเฝื่อน แก้งูพิษ

กระทุงหมาบ้า


ชื่ออื่น : คันชุนสุนัขบ้า, ผักฮ้วนหมู, เครือเขาหมู (เหนือ), มวนหูกวาง (เพชรบุรี), เถาคัน (ใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dregea volubilis Benth.ex Hook., Watlakata volubilis Stapf.

ชื่อวงศ์ : ASCLEPLADACEAE

เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถากลม สีน้ำตาลอ่อน

ใบ : มีลักษณะเป็นใบกลม โตปลายแหลม โคนรูปหัวใจ คล้ายใบบอระเพ็ด แต่หนาและแข็งกว่า ออกเป็นคู่

ดอก : ออกเป็นช่อออกตามง่ามใบ ขนาดเล็ก

ผล : เป็นฝักรูปใข่ยาว หัวแหลม

เมล็ด : กลมรี

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • ลำต้น รสเมาเอียนติดขม ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ กระทุ้ง พิษไข้หัว ไข้กาฬ ดับพิษฝี ขับปัสสาวะ แก้พิษดีกำเริบ ละเมอเพ้อกลุ้ม ปวด ศีรษะเซื่อมซึม น้ำตาตกหนัก แสบร้อนหน้าตา ช่วยให้นอนหลับ
  • ใบ รสเมาเบื่อเอียนติดขม แก้แผลน้ำร้อนลวก แก้บวม แก้ฝี
  • ราก รสเมาเบื่อเอียนติดขม ทำให้อาเจียน ขับพิษได้เช่นเดียวกับเถากระทุ้งพิษ แก้ไข้พิษ

การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ดและปักขำ

นิเวศวิทยา : เกิดตามป่าดงดิบทั่วไป

กระดอม

ชื่ออื่น : ขี้กาดง (สระบุรี), ผักแคบป่า (น่าน), มะนอยจา (เหนือ), มะนอยหก, มะนอยหกฟ้า (แม่ฮ่อนสอน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz.

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

เป็นไม้เถาเลื้อย มีมือเกาะ เหมือนมะระขี้นก

ใบ : เป็นใบเดี่ยว แยกเพศแต่อยู่ต้นเดียวกับ

ดอก : กลีบดอกมี 5 กลีบ ฐานเชื่อมต่อกัน กลีบรองดอกเชื่อติดกันเป็นหลอดยาว ออกตามง่ามใบ

ผล : ขนาดเท่าผลสมอไทย หัวท้ายแหลม สันสีอ่อน 10 สันตามแนวหัวท้าย เมื่อสุกสีแดงสด ผลแก่และผลสุกมีพิษ ห้ามรับประทาน การเก็บ จะเก็บลูกอ่อนมาตากแห้ง

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • ใบ รสขม ตำคั้นเอาน้ำหยอดตา แก้ตาอักเสบ รับประทานแก้พิษของลูกสุก แก้พิษบาดทะยักกำเริบเพราะรักษาผิด
  • ลูก ใช้ลูกอ่อนตากแห้ง รสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ ดีเดือด คลั่งเพ้อ เจริญอาหาร ทำโลหิตให้เย็น ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก แก้ไข้รักษามดลูกหลังจากการแท้ง หรือ คลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบถอนพิษผิดสำแดง แก้พิษผลไม้บางชนิด
  • ราก รสขม ต้มรับประทาน แก้ไข้ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ดับพิษโลหิตเจริญอาหาร บดผสมน้ำร้อน ทาถูนวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอ่อนล้า

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยา : เกิดอยู่ตามที่รกร้างใบป่าเขาทั่วไป

กระจับเขา

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Hedera himalaica Tobler

ชื่อวงศ์ : ARALIACEAE

เป็นไม้เถาเลี้อยตามพื้นดิน ใช้รากที่งอกออกตามเถาเกาะ

ใบ : เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปสามเหลี่ยม และแฉกแหลม 3 แฉก ขอบเรียบ เส้นใบออกจาฐาน 3-7 เส้น

ดอก : เป็นช่อ คล้ายดอกผักชี

ผล : ผลกลม ภายในมี 5 ช่อง เมล็ดรูปไข่

นิเวศวิทยา : เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าในป่าแล้งทั่วไป

สรรพคุณทางสมุนไพร : ราก รสเฝื่อน ถอนพิษ แก้พิษตะขาบ แก้ฝีบวม

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

นางจุม

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cansjera rheedii J.F. Gmel.

ชื่อวงศ์ : Opiliaceae

เป็นไม้รอเลื้อย อายุหลายปี กิ่งก้านทอดเลื้อยปะปนกับไม้อื่น และเป็นพืชในวงศ์เดียวกับผักหวานป่า

ใบ : รูปไข่หรือรูปใบหอกแกมรูปรีเรียวแหลม ยอดอ่อนมีขนปกคลุม

ดอก : ช่อดอกออกตามซอกใบ ดอกเล็ก สีเหลืองอมเขียว มีวงกลีบรวมเป็นรูประฆัง

ผล : มีเนื้อนุ่ม ภายในมีเมล็ดแข็ง เมื่อสุกมีสีส้ม

ประโยชน์ : ผักชนิดนี้พบวางขายอยู่ในตลาดทุ่งเสลี่ยม ที่อยู่ระหว่างทางไปจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมัดรวมอยู่กับ “บะแตก” แม่ค้าเรียกว่า “นางโจม” ขายกำละ 5 บาท และบอกวิธีการกินว่า นางโจมเป็นผักที่นิยมนำมาทำแกง หรือใส่ร่วมกับแกงแค รสอร่อยมากเหมือนผักหวานป่า และมีให้กินตลอดปี

การขยายพันธุ์ : นางจุมชอบดินร่วนชุ่มชื้น ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดดครึ่งวัน สามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด แต่ชาวบ้านไม่นิยมปลูกกัน เพราะส่วนใหญ่สามารถเก็บหาได้จากป่าธรรมชาติ จึงไม่ค่อยพบเห็นวางขายกันมากนัก

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชีย พบอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบชื้นที่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 700 เมตรทั่วทุกภาคของไทย

เถาเอ็นอ่อน


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cryptolepis buchanani Roem.&Schult.

ชื่อวงศ์ : PERIPLOCACEAE

ชื่ออื่น : กวน (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เครือเถาเอ็น (เชียงใหม่) ตีนเป็ดเครือ (ภาคเหนือ) เมื่อย (ภาคกลาง)
นอออหมี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หญ้าลิเลน (ปัตตานี) หมอนตีนเป็ด (สุราษฎร์ธานี)

เป็นไม้เลื้อย อายุหลายปี ทุกส่วน มีน้ำยางสีขาว

ใบ : รูปรีแกมขอบขนาน ปลายเรียวแหลม ออกตรงข้ามกัน

ช่อดอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกเล็ก กลีบดอกสีขาวอมเหลืองอ่อน มี 5 กลีบ ปลายเมล็ดมีขนฟูช่วยในการกระจายพันธุ์

ประโยชน์ : ยอดอ่อนต้มกินกันน้ำพริก อาหารรสจัดต่าง ๆ หรือใส่ในแกงจืด แกงเลียง มีให้กินตลอดปี

สรรพคุณทางสมุนไพร : ทั้งต้นนำมานึ่งทำเป็นลูกประคบแก้ปวดเมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน แก้กระษัย บำรุงเส้นเอ็น หรืออาการปวดบวมฟกช้ำ กระดูกแตกหัก ในต่างประเทศใช้ลำต้นเป็นส่วนผสมในน้ำมันใส่ผมเพื่อช่วยบำรุงรากผม ป้องกันรังแค เมล็ดช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แน่นจุกเสียด

การขยายพันธุ์ : เถาเอ็นอ่อนชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดตลอดวัน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง ควรทำค้างไม้ให้เลื้อยพันหมั่นตัดแต่งทรงพุ่มอยู่เสมอ สามารถปลูกเป็นไม้ริมรั้วหรือเป็นซุ้มไม้ประดับได้

นิเวศวิทยา : พบทั่วทุกภาคในไทย

เถาคัน


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cayratia trifolia (L.) Domin

วงศ์ : VITIDACEAE

เป็นไม้เลื้อยที่มีอายุหลายปี มักพบเลื้อยพันอยู่กับต้นไม้ใหญ่ เถาสีเขียวหรือสีม่วงแดง มีมือเกาะแตกจากข้อใบและแตกแตนงออก

ใบ : มีใบประกอบสามใบย่อย รูปไข่ ก้านใบออกจากจุดเดียวกัน ขอบใบหยัก

ดอก : ช่อดอกออกจากซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกย่อยเล็กสีเขียวหรือสีม่วงแดงเรื่อ

ผล : กลมมีนี้นุ่ม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. เมื่อสุกมีสีดำ ภายในมีเมล็ดแข็ง 2 – 3 เมล็ด

ประโยชน์ : ชาวใต้นิยมบริโภคใบอ่อนเป็นผักสดหรือลวกกินกับน้ำพริก แจ่วหรือใส่ในแกง ส่วนผลอ่อนใส่ในแกงส้มเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว มีในช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝน

สรรพคุณทางสมุนไพร : รากแก้ไข้ แก้กระษัย เถาต้นช่วยขับเสมหะ ขับลม ฟอกเลือด และเล่นยาคุมกำเนิด ใบช่วยดูดหนองฝี แก้ไข้ และรักษาแผลในจมูก

การขยายพันธุ์ : เถาคันเป็นพืชที่แข็งแรงทนทาน เจริญเติบโตได้ในทุกสภาพแวดล้อมมีแสงแดดจัด ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่งแก่ สามารถ ปลูกเป็นซุ้มไม้เลื้อยหรือไม้ริมรั้วบ้านได้อย่างดี

นิเวศวิทยา : มีการกระจายพันธุ์แถบตะวันออกของทวีปอเมริกา เป็นวัชพืชที่พบทั่วทุกภาคของไทย

ถั่วคล้า (baybean,Beach bean)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canavalia rosea (sw.) DC.

ชือวงศ์ : PIPERACEAE

เป็นไม้เลื้อยที่พบทั่วไปในประเทศเขตร้อนทั่วโลก ในไทยพอตามชายทะเลทางภาคใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ในจังหวัดภูเก็ตมักเรียกว่า “ผักบุ้งเล” ส่วนจังหวัดตราดเรียก “ไก่เตี้ย”

ใบ : ประกอบมี 3 ใบย่อย สองใบด้านข้างรูปไข่เบี้ยว ใบกลางขนาดใหญ่

ดอก : ช่อดอกผลิจากซอกใบ ปลายยอดชูตั้งขึ้น ดอกรูปดอกถั่ว สีชมพู ผลิบานในช่วงฤดูฝน

ผล : เป็นฝักหนา ยาว 10 – 12 ซม. ปลายแหลมด้านหนึ่งเป็นสันนูนตามยาว ภายในมีเมล็ดแบน

ประโยชน์ : นิยมเก็บดอกอ่อนและฝักอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริก มีมากในฤดูร้อนและฤดูฝน ในต่างประเทศนำเมล็ดมาคั่วกินเป็นของว่าง

สรรพคุณทางสมุนไพร : ในต่างประเทศใช้รักษาการในช่องท้อง

การขยายพันธุ์ : ถั่วคล้าชอบดินร่วนระบายน้ำดี มีแสงแดดตลอดวัน ทนดินเค็ม และทนดินแฉะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ตานหม่อน


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vernonia elliptica DC.

ชื่ออื่น : ตานค้อน, ตานหม่น, ซ้าหมักหลอด

วงศ์ : COMPOSITAE

เป็นไม้เลื้อย อายุหลายปี ทุกส่วนมีขนสีเงินปกคลุม

ใบ : รูปไข่กลับ ปลายแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่าง ๆ ใต้ใบมีขนสีเงินปกคลุกหนาแน่น

ดอก : ช่อดอกออกที่ใบรูปไข่กลับ ปลายแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่าง ๆ ใต้ใบมีขนสีเงินปกคลุมหนาแน่น ช่อดอกออกที่ซอกใบปลายยอด ช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ช่อห้อยโค้งลง ดอกสีขาว

ผล : เป็นผลแห้ง

เมล็ด : มีขนที่ปลาย

ประโยชน์ : ยอดอ่อนกินเป็นผักกับน้ำพริกหรืออาหารรสจัดต่าง ๆ สรฝาดมันเก็บกินได้ตลอดปี

สรรพคุณทางสมุนไพร : ตามตำรายาไทยใช้ราก ดอก ใบ แก้โรคตานซางในเด็ก ช่วยรักษาลำไส้ และฆ่าพยาธิ ชาวนามักใช้ใบตำพอกตีนควายเพื่อช่วยรักษาแผล

การขยายพันธุ์ : ตาลหม่อนชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดตลอดวัน โตเร็วแข็งแรงทนทาน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง ควยทำซุ้มให้เลื้อยพัน ปลูกเป็นไม้ประดับในบ้านได้ดี

นิเวศวิทยา : พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและที่รกร้างทั่วทุกภาค