ชื่ออื่น: วุ้นหมอน้อย (กลาง), ขงเขมา, พระพาย (เหนือ), หมาน้อย (อีสาน), ก้นปิด (ใต้), สีฟัน (เพชรบุรี), อะกามินเยาะ (ยะลา)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Cissampelos pareira Linn.
ชื่อวงศ์: MENISPERMACEAE
เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดกลาง
ใบ: ใบเดี่ยว รูปหัวใจ มีขนปกคลุม ก้นใบปิด เหมือนต้นก้นปิด ไม่มีขน ใบเมื่อนำมาขยำกับน้ำทิ้งไว้จะแข็งตัวเหมือนวุ้น
ดอก: ดอกตัวผู้และตัวเมียแยกจากกัน มีขนาดเล็ก สีเขียว
เมล็ด: เมล็ดโค้งเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก
สรรพคุณทางสมุนไพร:
- ราก รสเย็นหอมสุขุม แก้ไข้ แก้ดีรั่ว ดีล้น ดีซ่าน เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงอวัยวะเพศให้แข็งแรง แก้ลม โลหิต กำเดา แก้โรคตา ขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีฤทธิ์เท่ากับ d-tubocurarine
- ใบ ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง หิด
การขยายพันธุ์: ด้วยเมล็ดหรือแยกหน่อ
นิเวศวิทยา: เกิดอยู่ตามที่รกร้างว่างเปล่าในป่าเขาทั่วไปในเขตร้อน