กะเม็งตัวผู้

ชื่ออื่น: ห้อมเกี้ยวคำ (เชียงใหม่), อึ้งปั้วกี่เช้า (จีน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Wedelia chinensis Merr.

ชื่อวงศ์: COMPOSITEA

เป็นไม้ล้มลุก

ลำต้น: ลำต้นเลื้อยยอด ตั้งสูงประมาณ 1-2 ฟุต

ใบ: ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายและโคนแหลม ขอบใบหยักตื้นๆ ห่างๆกัน มีขนประปราย

ดอก: ดอกเป็นกระจุกกลม สีเหลืองออกเดี่ยวๆที่ปลายยอด ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร

ผล: ผลเล็กๆยาวๆ 5 มิลลิเมตร ผิวไม่เรียบ

สรรพคุณทางสมุนไพร:

  • ใบ รสเอียน ต้มหรือชงรับประทาน แก้ไอ แก้ปวดศีรษะ บำรุงร่างกาย แก้โรคผิวหนัง แก้ผมร่วง
  • ทั้งต้น รสเอียน ทำเป็นผงหรือยาชงรับประทาน แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต บำรุงโลหิต แก้กระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะคราก ทำให้น้ำบริสุทธิ์ ตำผสมข้าวพอกแก้บวม

การขยายพันธุ์: ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยา: เกิดตามที่ลุ่มชื้นแฉะ

กะเม็งตัวเมีย

ชื่ออื่น: คะเม็ง, ห้อมเกี้ยว, ล้อม (เหนือ), ใบลบ (ใต้), กะเม็งตัวเมีย, หญ้าสับ (เหนือ), บั้งกีเช้า (จีน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Eclipta Alba (L.) Hassk

ชื่อวงศ์: COMPOSITAE

เป็นไม้ล้มลุก

ลำต้น: ตั้งตรง สูงประมาณ 1-2 ฟุต

ใบ: ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน เป็นคู่ๆรูปหอกแคบยาวเรียว ริมใบหยักฟันเลื่อย ผิวเกลี้ยง ไม่มีก้าน ปลายแหลม

ดอก: ดอกช่ออัดกันแน่นเป็นกระจุกรูปหัวแหวนทรงกลม สีขาว

ผล: รูปลูกข่างสีดำ ปลายมีระยางค์เป็นเกล็ดยาว 3 มม.

นิเวศวิทยา: เกิดตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ที่รกร้างว่างเปล่า ตามไร่นาทั่วไป

ขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ

  • ต้น รสขมเฝื่อนเย็น แก้ลมให้กระจาย แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้โลหิตซึ่งทำให้ร้อน ห้ามเลือด บำรุงโลหิต แก้โรคโลหิตจาง แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด แก้ไอกรน แก้ริดสีดวงทวาร แก้เจ็บคอ ใช้ทาพอกแก้ผื่นคัน แก้ฝีพุพอง รักษาแผลตกเลือด
  • ใบ รสขมเฝื่อน เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้จุกเสียดแน่น
  • ราก รสขมเฝื่อน ขับลมในลำไส้ แก้อาเจียนเป็นเลือด บำรุงร่างกาย แก้โรคตับและม้ามพิการ ใช้ทาแผลฆ่าเชื้อ
  • ดอก รสขมเฝื่อน แก้ดีซ่าน เป็นยาชาเฉพาะที่ ระงับปวด เคี้ยวอม แก้ปวดฟัน
  • ลูก รสขมเฝื่อน ขับผายลม