กานพลู

1-30

ชื่ออื่น: จันจี่ (เหนือ)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Eugenia caryophyllus (Sprengel) Bullock et Harrison, E. caryophyllata Thunberg., Syzygium aromaticum (Linn) Merr. & Perry., Caryophyllus aromaticus Linn

ชื่อวงศ์:  MYRTACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ชอบอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุก เช่น ตามชายฝั่งทะเล ปลูกได้จนถึงระดับสูง 900 เมตร ต้นกานพลูจะเริ่มออกดอกเมื่ออายุประมาณ 8 ปี ปริมาณของดอกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและมากที่สุดเมื่ออายุ 15-20 ปี และมีอายุถึง 60 ปี ต้นหนึ่งๆให้ดอกกานพลูแห้ง 4-8 กก. ต่อปี

ลำต้น: อาจพบสูงถึง 12 เมตร

ใบ: ใบเดี่ยว รูปหอกปลาย และโคนเรียวแหลม สีเขียวจัดแข็งหนาเป็นมัน กลิ่นหอมเผ็ดร้อนคล้ายใบแก้วแต่โตกว่า

ดอก: เป็นช่อสีเขียวอมแดง

ผล: เล็กกลมยาว 1 ซม. สีน้ำตาลเข้ม

สรรพคุณทางสมุนไพร:

  • ดอก รสเผ็ดร้อนปร่า กระจายเสมหะ แก้เสมหะเหนียว แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้หืด แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปวดท้อง แก้ลม แก้เหน็บชา ขับน้ำคาวปลา ทำอุจจาระให้ปกติ นอกจากนี้ในดอกกานพลูยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น แคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงฟันและกระดูกให้แข็งแรง
  • น้ำมันกานพลู เป็นยาชาเฉพาะที่ ระงับการกระตุก ขับผายลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องขึ้น แก้ปวดฟัน ผสมยากลั้วคอ แต่งกลิ่นอาหาร ขนม เครื่องดื่ม สบู่ ยาสีฟัน ยาดับกลิ่น ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ยังสามารถสกัดน้ำมันจากส่วนต่างๆของต้นกานพลูได้อีก เช่น น้ำมันก้านกานพลู, น้ำมันลูกกานพลู แต่ทางด้านเภสัชกรรม ใช้น้ำมันจากดอกตูมของกานพลูเท่านั้น (น้ำมันดอกกานพลูที่ดี จะไม่มีสี หรือมีสีเหลืองอ่อน)

การขายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ต้องเพาะทันที อัตราการงอกจะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเก็บไว้นานเกิน 1 สัปดาห์

กานพลู (Clove)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Syzygium aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry

ชื่ออื่น จั่นจี่ (ภาษาเหนือ)

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 5 – 10 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร ทรงพุ่มไม่โตมากนัก แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา มีสะเก็ดต้นเป็นกาบแตกเป็นขุย เป็นไม้เนื้อแข็ง กรอบหักง่าย เป็นไม้น้ำมัน

ใบ : ออกที่ส่วนปลายของกิ่งตามข้อเล็กทรงต้นและกิ่ง คล้ายต้นผักเม็ก ผักเสม็ด เป็นใบเดี่ยว ใบโตกว่าใบเสม็ด ใบเท่าใบก้นถ้วย ใบแข็งกรอบ โคนใบแหลมปลายใบแหลม เป็นรูปหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. โตเท่าสองนิ้วมือ มีเส้นใบหลักพอเป็นที่สังเกตได้อยู่กลางใบ ไม่นับเส้นใบย่อยเพราะไม่เป็นจุดเด่น เส้นใบย่อยค่อนข้างถี่ละเอียด หน้าใบเขียวเป็นมันท้องใบเขียว แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ก้านใบยาว 1-2.5 ซม.

ดอก : ออกเป็น กระจุก ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ดอกแข็งเป็นน้ำมัน ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ก้นดอกแหลม ก้นดอกติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. จอมปลายดอกโต บานออกเป็นฝอย เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบเกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม.

ผล : รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1

เมล็ด : เมื่อดอกแห้งจะเป็นสีดำ ก้นแหลมหัวโต ก้นสีดำ จอมดอกสีน้ำตาล ความยาวประมาณเซนติเมตรเศษ ๆ นิยมนำดอกตูม มาทำยา

รสกลิ่น : รสเผ็ด-ร้อนปร่าเป็นหลัก ส่วนของใบจะออกรสร้อนปร่า ดอกรสเผ็ดร้อนปร่าช่าลิ้น และจะมีกลิ่นที่หอมร้อน

ชื่อวงศ์ : Myrtaceae

สรรพคุณทางสมุนไพร : ขับลมแก้จุกเสียด ขับพิษเลือด ขับน้ำคาวปลา ขับน้ำเหลือง แก้เหน็บชา แก้ อุจจาระธาตุไม่ปกติ ทำให้อาหารงวด แก้ปวดฟัน ดับกลิ่นปาก แก้ท้องเสีย ถ่ายบิด

นิเวศวิทยา : เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ ในเมืองไทยนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยตอนใต้และภาคตะวันออกของไทยที่สวนสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดจันทบุรี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด อยู่ในเมืองไทยได้ดี ชอบอากาศชื้น-เย็น หรือ ร้อน-ชื้น