กัลปพฤกษ์ (Horse Cassia, Pink Cassia, Pink Shower,Wishing Tree)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cassia bakeriana Craib

ไม้ต้น สูงประมาณ 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาค่อนข้างมาก

พุ่มใบแบนกว้าง ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อย 5-8 คู่ มีขนนุ่มปกคลุม

ดอก : ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ สีชมพูดอ่อนแกมขาว มักออกดอกในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ แต่บางพันธุ์ก็ออกในระหว่างที่มีใบติดอยู่มากได้เช่นกัน เมื่อดอกเริ่มบานเป้นสีชมพู พอใกล้โรยกลายเป้นสีขาว

ผล : เป็นฝักกลมยาว มีขนนุ่มปกคลุม เมื่อแก่มีสีน้ำตาลคล้ำและมีกลิ่นเหม็น ภายในมีเมล็ดกลมแบน

วิธีปลูกและดูแลรักษา : กัลปพฤกษ์เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด ควรปลูกในดินปนทรายหรือดินร่วนซุยเพราะสามารถทนแล้งได้ดี และไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค ส่วนใหญ่มักพบต้นกัลปพฤกษ์ที่ภาคอีสานและภาคเหนือ

ชื่อวงศ์ : Leguminosae Caesalpinioideae

ประโยชน์ : เป็นไม้ยืนต้นที่แผ่กิ่งก้านสาขามาก ให้ร่มเงาในบริเวณกว้าง หรือปลูกเพื่อความสวยงามเพราะกัลปพฤกษ์มีดอกที่สวย เนื้อและเปลือกไม้ มีสารฝาดใช้ฟอกหนัง

สรรพคุณทางสมุนไพร : ฝักใช้ทำยาระบายอ่อนๆ

ต้นไม้สัญลักษณ์ : กัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่อยู่ในตำนานสมัยโบราณ ถือว่าเป็นต้นไม้ทิพย์ที่มีคุณวิเศษของเทพเจ้า เป็นหนึ่งในต้นไม้สวรรค์ที่จะบันดาลผลให้สำเร็จตามความปรารถนา และเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ เชื่อกันว่าบ้านใดปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้ประจำบ้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้จะเป็นสิริมงคล ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต พบแต่ความสุขสมหวังทุกประการ หากผู้ปลูกเป็นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือและเป็นผู้ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก เช่นเดียวกับต้นกัลปพฤกษ์ที่มีอายุยืนนาน แผ่กิ่งก้านสาขากว้างใหญ่ กัลปพฤกษ์เป็นไม้ที่พบในประเทศไทยเป็นประเทศแรกและจดทะเบียนชื่อวิทยาศาสตร์ครั้งแรกของโลก นอกจากเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดขอนแก่นแล้ว ยังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม)

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยการตอนและเพาะเมล็ด ซึ่งการเพาะเมล็ดเป็นวิธีที่นิยมเพราะค่อนข้างได้ผลมากกว่า

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หางนกยูงฝรั่ง (Flame Tree, Peacock Flower)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Delonix regia (Bojer ex Hook.) Raf.

ไม่ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเรียบ

ใบ : ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ มีใบย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก

ดอก : ออกเป้นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีแสด แดงหรือเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน

ผล : เป็นฝักแบน แข็ง กว้าง 3-5 ซม. ยาว 30-60 ซม. เมื่อแก่สีดำ

คุณค่าทางภูมิสถาปัตยกรรม : ไม้โตเร็ว เรือนยอดแตกกิ่งแผ่กว้างคล้ายร่ม ออกดอกพร้อมแตกใบอ่อน เป็นพืชที่ชอบแสงและต้องการพื้นที่กว้างในการเจริญเติบโตปลูกประดับสวนและอาคารได้ดี ให้ดอกสวยงาม ไม่เหมาะสำหรับปลูกริมถนนและลานจอดรถเพราะฝักมีขนากใหญ่อาจสร้างความเสียดายได้

ชื่อวงศ์ : Leguminosae – Caesalpinioideae

ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกมีความสวยงาม

ต้นไม้สัญลักษณ์ : เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์น มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพ

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสการ์ ชอบแสง ขึ้นได้ดีในดินทั่วไปที่ระบายน้ำได้ดี