ส้มป่อย


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Acacia concinna (Willd.) D.C.

ชื่ออื่น เครือส้มป่อย

ไม้พุ่มรอเลื้อย เป็นเครือมีหนาม คล้ายผักขา ปักหละ ชะอม ส่วนยอดคล้ายยอดชะอมหรือผักขา ยอดส้มป่อยสีจะออกแดงน้ำตาล มีรสเปรี้ยว เป็นเครือมีหนามตามลำต้น กิ่ง ก้านและใบ คล้ายผักขา ปักหละ ชะอม ส่วนยอดคล้ายยอดชะอมหรือผักขา ยอดส้มป่อยสีจะออกแดงน้ำตาล มีรสเปรี้ยว หนามอยู่ตามต้นออกสีน้ำตาลดำ ถ้ามีอายุมากจะไม่มีหนาม

ใบ : ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 7-20 ซม. ใบย่อยรูปขอบขนาน ขนาดเล็ก เริ่มออกดอกเดือน 3-4 เมล็ดออกสีดำแก่เมื่อเข้าเดือน

ดอก : 6 ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ เป็นช่อกลม กลีบดอกเป็นหลอด สีนวล ดอกคล้ายดอกกระถิน สีขาวปุยอมน้ำตาล ทรงกลม ฝักแก่ ความยาวประมาณ 1นิ้ว แบน อ้วน เป็นปล้องสีน้ำตาลอมเหลืองเรื่อๆ

ผล : ผลเป็นฝัก สีน้ำตาลดำ ผิวย่นขรุขระ ขอบมักเป็นคลื่น

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – MIMOSOIDEAE

ประโยชน์ : ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริก จิ้มแจ่ว หรือใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงส้ม ต้มยำ ต้มปลาให้รสเปรี้ยว ใช้แทนน้ำมะขามเปียกหรือใส่ร่วมกันก็ได้ มีมากในฤดูฝน

สรรพคุณทางสมุนไพร : ใบรสเปรี้ยว ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ยอดอ่อนใส่ต้มปรุงอาหาร ทำเป็นยาอบ ยาประคบ ขับของเสียออกจากร่างกายแต่แสลงต่อโรคน้ำเหลืองเสีย เครือ เปลือกเครือ สมานแผล สมานลำไส้ แก้ถ่าย บิด ท้องเสีย ควรนำมาปิ้งไฟก่อนต้มน้ำกินรักษาอาการท้องเสีย ถ่ายจะได้ไม่หยดกะทันหัน จะไม่ชวนอาเจียน

ต้นไม้สัญลักษณ์ : เกร็ด ส้มป่อยเป็นไม้มงคลของไทย ควรปลูกในทิศเหนือ จะช่วยป้องกันสิ่งเลวร้ายหรือภูตผีให้กับบ้านเรือนได้ นอกจากนี้ชาวเหนือยังนำฝักส้มป่อยมาปิ้งไฟพอเหลือง แช่ในน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้ไปทำน้ำมนต์ หรือในงานเผาศพ เจ้าภาพจะเตรียมน้ำส้มป่อยให้ผู้ร่วมงานใช้ล้างหน้าหลังเผาศพ เพื่อปัดเป่าความเศร้าโศกให้หายไป บ้างก็นิยมพกฝักส้มป่อยไปในงานศพ เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจหรือสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ในวันสงกรานต์ ชาวเหนือจะนำฝักส้มป่อย ดอกคำฝอย และดอกสารภี แช่น้ำจนมีสีเหลืองของดอกคำฝอย เรียกว่าน้ำขมิ้นส้มป่อย ใช้สรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่

การขยายพันธุ์ : ส้มป่อยชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดตลอดวัน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำหรือตอนกิ่ง ชาวเหนือนิยมปลูกเป็นไม้ริมรั้วในสวนหลังบ้าน โดยทำเป็นซุ้มไม้ให้ต้นพาดเลื้อย เพื่อสะดวกในการเก็บไปใช้ประโยชน์

นิเวศวิทยา : เป็นไม้ป่า ชอบอยู่กับต้นไม้อื่นแบบพึ่งพาพาดพันไม้ที่ใหญ่ดิน จอมปลวก ดินร่วนปนทรายแบบดินดง ไม้อยู่เดี่ยวไม่มีต้นไม้อื่นจะอยู่เป็นพุ่มแข็งแรงพาดกันเอง อยู่ในภูมิประเทศและอาณานิคมเดียวกันกับเครืออีเลี่ยน หรืออ้อยสามสวนเครือ ชะเอมป่าหน้าคล้ายกัน ต่างกันที่รสและไม่มีหนาม

สบู่เลือด


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Stephania pierrei Diels

ชื่ออื่น หัวกระทุ่มเลือด กระท่อมเลือด หัวท่อมเลือด

เป็นประเภทไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดินีขนาดใหญ่กลมแป้น ฝังอยู่ครึ่งหัวหรือวางเหนือดิน เปลือกหัวสีน้ำตาล คล้ายหัวมันและคล้ายรูปกระเพาะอาหาร เนื้อในหัวเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง รสชาติมันและเฝื่อนเล็กน้อย โค้งงอลงสู่พื้นดิน เป็นไม้กึ่งเลื้อยทอดยาวได้ประมาณ 3-5 เมตร

ใบ : ลักษณะใบแทงขึ้นจากหัว เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะใบเกือบกลมคล้ายใบบัว แต่จะมีขนาดเล็กกว่า ก้านใบยาว 2-3.5 ซม. มีน้ำยางจากใบ

ดอก : ออกดอกที่เครือ เลี้ยง 4-5 กลีบ รูปขอบขนาน สีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ผลมีลักษณะเป็นทรงกลม มี 1 เมล็ด ฤดูแล้งผลัดใบเหลือแต่หัว

ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE

สรรพคุณทางสมุนไพร : ลำต้นแก้อาการปวดเมื่อย เจริญธาตุ ตกขาว อายุวัฒนะ

นิเวศวิทยา : ป่าชื้น-เย็น ชายเขา ฝั่งต้นลำธาร โขดหิน ไม่ชอบที่แฉะแต่ชอบที่ชุ่มชื่น ไม่ชอบแสงแดด ชอบธรรมชาติพลางแสง อาศัยความเย็นจากหินภูเขาเพราะซอกหินเป็นที่ดักตะกอนซากพืชผุพังเป็นขุยซับความชื้นและอาหารได้ดี

ส้มกุ้ง


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Embelia ribes Burm.f. Begonia Inflata, C.B.clarke

ชื่ออื่น ส้มขี้มอด

เป็นไม้ยืนต้นประเภทเครือ ไม่ใช่เถา ไม่มีมือเกาะ อายุหลายปี เถาใหญ่ขนาดสากกระเบือตำพริก ผิวเปลือกลายขรุขระ เถาสีเขียวผิวเรียบเป็นปล้อง ทรงตาไม้มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์

ใบ : ขนาดของใบประมาณ 2 นิ้ว ผิวเรียบลื่น ปลายใบแหลม ใบไม่มีก้านติดกิ่ง ขอบใบไม่หยัก เถาแก่สีเทาอมขาวอมดำ ขึ้นอยู่ถิ่นกำเนิดที่แตกต่างกัน

ดอก : ดอกเป็นขุมติดกับเถาเป็นกระจุก

ผล : ลูกอ่อนสีเขียวขาว ผลแก่สุกสีเข้มชมพูดำๆ ขนาดเม็ดมะเม่าใหญ่

รส-กลิ่น : ใบยอดอ่อนใส่ต้ม แกงได้รสเปรี้ยว กลิ่นเปรี้ยวหอม เปลือกต้นรสฝาดอมเปรี้ยว กระพี้และเนื้อไม้กลิ่นหอมอมเปรี้ยว ผลสุกมีรสเปรี้ยวหวาน

ชื่อวงศ์ : BEGONIACEAE,MYRSINACEAE

ประโยชน์ : ผลสุกกินได้ เป็นผลไม้ป่า

สรรพคุณทางสมุนไพร : ใบมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาระบาย เนื้อไม้และกระพี้ นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกินน้ำแก้อาการปัสสาวะขัดหรือขุ่น นิ่วกระเพาะปัสสาวะ ชะล้างทางเดินปัสสาวะ และยังมีส่วนเป็นยาระบายอ่อนๆ ทำให้อุจจาระนิ่ม มีรสเปรี้ยว ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ

นิเวศวิทยา : เป็นไม้ป่าโดยกำเนิด ไม่ชอบดินเหนียว ชอบที่ดอน ดินร่วน ปนทราย ป่าโคก ป่าโปร่ง ภูมิประเทศอีสาน ที่ราบสูงเขตร้อน

ส้มกบ (Indian Sorrel, Yellow Oxalis)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Oxalis corniculata Linn.

ชื่ออื่น สังส้ม (แพร่), ผักแว่นเมืองจีน, เกล็ดหอยจีน, ผักแว่น (ภาคกลาง), ส้มสังกา, ส้มสามตา (เชียงใหม่),ส้มดิน,หญ้าตานทราย (แม่ฮ่องสอน), ซาเฮี้ยะซึ่งเช่า (จีน)

เป็นไม้ประเภทติดดินล้มลุก ขนสีหมอกเทา แผ่กิ่งก้านเลื้อยเป็นกอ ไม่ใหญ่มาก ต้น เป็นวัชพืชพุ่มเตี้ยอายุยืนหลายฤดู ลำต้นจะทอดเลื้อยตามพื้นดินมีไหลได้ยาว ส่วนของลำต้นมีขน ปกคลุม

ใบ : เป็นใบประกอบมีใบย่อย 3 ใบ ใบแฉกคล้ายผักแว่นน้ำ ใบสีเขียว เกิดจากจุดเดียวกันที่ปลายก้านใบ ก้านใบยาวประมาณ 10 ซม. ใบย่อยเป็นรูปหัวใจ

ดอก : ดอกสีเหลือง ติดผลเป็นฝักตั้งตรงมีลักษณะเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม มีขนปกคลุม ฝักยาวประมาณ 4-6 ซม. ผลแก่จะแห้งแตกดีดเมล็ดออก

ผล : เป็นรูปไข่แบน ผิวเมล็ดย่นเป็นสีน้ำตาล

รสกลิ่น : ทั้งต้นรสเปรี้ยว

ชื่อวงศ์ : Oxalidaceae

สรรพคุณทางสมุนไพร : เป็นผักพื้นบ้าน ต้นสดต้มน้ำดื่ม แก้ดีซ่านตัวเหลือง ใช้ล้างแผลฟกช้ำ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือตำแล้วพอกแผล พอกรากฟันที่เป็นหนอง หากเลือดกำเดาไหลใช้อุดรูจมูก นำใบมาตำแซกเกลือ คั้นเอาน้ำจิบแก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย คั้นเอาน้ำจากต้นสดผสมน้ำผึ้ง แก้หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด

นิเวศวิทยา : ชอบเกิดตามสวน ข้างบ้าน หน้าบ้าน สวนหย่อม ที่ดอน แดดรำไร ไม่ชอบน้ำท่วมขัง

สมอพิเภก (Beleric myrobalan)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.

ชื่ออื่น หมากแทน, ลูกเป็นหมอ, พ่อเป็นยักษ์, สมอผลกลม

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ทรงสูงโปร่ง ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร แตกกิ่งก้านไกลต้น

ลำต้น : ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือกลำต้นผิวเรียบขรุขระเป็นเกล็ด ผสมขุย สีเทาอมน้ำตาลช่วงแรกหรือเป็นสีดำๆ ด่างๆ เป็นแห่งๆ ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ กิ่งเค้า กิ่งกระโดง จะเป็นการทิ้งช่วงทรงฉัตร กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย

ใบ : เป็นชนิดใบเดี่ยว ใบหนา ไม่มีก้านใบ ใบสีเขียว ติดเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายๆ กิ่ง ทรงใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 9-15 ซม. ยาว 13-19 ซม. ใบรสฝาดหอม เปลือกติดกระพี้รสฝาดมีกลิ่นหอม ผลมีรสฝาดอมเปรี้ยว โคนใบสอบมาสู่ก้านใบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบผายกว้าง ปลายสุดจะหยัดคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เส้นแขนงใบโค้งอ่อน มี 6-10 คู่ เส้นใบแบบเส้นร่างแหเห็นชัดทางด้านท้องใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเขียวเข้มและมีขนสีน้ำตาลกระจายทั่วไป ท้องใบสีจางหรือสีเทามีขนนุ่มๆ คลุม แต่ทั้งสองด้านขนจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่จัด ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4-6 ซม. บริเวณกึ่งกลางก้านจะมีต่อมหรือตุ่มหูด หนึ่งคู่

ดอก : เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ แบบหางกระรอก ที่ง่ามใบหรือรอยแผลใบตามกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง ช่อยาว 10-15 ซม. ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามปลายๆ ช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ตามโคนช่อ กลีบฐานดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ทั้งหมดมีขนทั่วไป เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงซ้อนกันอยู่สองแถว รังไข่ ค่อนข้างแป้น ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว

ผล : กลมหรือกลมรีๆ แข็ง ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น ออกรวมกันเป็นพวงโตๆ

ชื่อวงศ์ : Combretaceae

สรรพคุณทางสมุนไพร : ส่วนเปลือกต้นปิ้งไฟให้เหลือง แช่น้ำให้เป็นช่งดื่ม แก้โรคซาง ลูกสมอพิเภท นิยมนำมาฝนทาหัวเด็กแก้ตุ่มน้ำเหลืองเสีย แผลชันนะตุ แก้เลือดลม จุกเสียด เสมหะเป็นกองธาตุ ระบายอุจจาระธาตุ ตำราบางท้องถิ่นนำเอาเปลือกต้นไปผสมกับเปลือกไม้อื่นๆ ทำยาตั้ง ประคบคนเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

นิเวศวิทยา : ชอบอยู่ในภูมิประเทศ ป่าโปร่ง ทุ่งนา เป็นไม้ป่าที่ราบสูง

สมอไทย, สมออัพยา, ส้มมอ (Myrobalan Wood)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. var. chebula

เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นแตกขรุขระ สีเทา ใบใหญ่ประมาณฝ่ามือ ยาวประมาณ 120 ซม.

ใบ : ยอดอ่อนสีเหลือง อมน้ำตาลมีขนเล็กน้อย เมื่อใบแก่จะไม่มีขน ลูกมีสีเขียวลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม

ผล : ออกผลประมาณเดือน สิงหาคม – ธันวาคม ถ้าจะเปรียบเทียบลักษณะจะคล้ายต้นรกฟ้า

รส-กลิ่น : ใบรสฝาด เปลือก แก่น กระพี้ รสฝาด เมล็ดมีรสฝาด เนื้อลูกรสเปรี้ยว กลิ่นฝาดอมเปรี้ยว

ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE

สรรพคุณทางสมุนไพร : ใบใช้สมานแผล แก้ท้องเสีย เปลือกของลำต้น เมล็ด และแก่น ใช้สมานแผลสมานแผลในลำไส้ นิยมนำเปลือกต้มน้ำ แทรกเป็นยาใช้แก้อาการน้ำเหลืองเสีย แผลพุพอง น้ำกัดเท้า เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นยาถ่าย แต่ห้ามใช้สำหรับคนไข้ที่มีอาการท้องเสีย ท้องเดิน

นิเวศวิทยา : ภูมิประเทศแห้งร้อน ป่าโคก ป่าดอนที่ราบสูง

ตีนเป็ดทราย


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cerbera manghas

ไม้พุ่ม สูง 4-6 เมตร เปลือกนอกสีน้ำตาล มีรอยแผลใบและเลนติเซลปรากฏอยู่จำนวนมาก มียางสีขาว

ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับอยู่ที่ปลายกิ่ง ใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ฐานใบสอบ ปลายใบแหลม หลังใบเป็นมันวาว เส้นแขนงใบแบบขนาน

ดอก : เป็นแบบช่อกระจุกแน่นออกที่ปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ คล้ายรูปดาว วงกลีบดอกสีขาว ตรงกลางดอกมีสีแดง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน

ผล : รูปไข่หรือรูปรี มักอยู่เป็นคู่ ผิวสีเขียวเป็นมัน เมื่อสุกเป็นสีม่วง แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ ผลมีความเป็นพิษสูงและก่อให้เกิด

กระเจี๊ยบ


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Polyalthia cerasoides

ไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร เปลือกเรียบ กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป

ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก ฐานใบเบี้ยว มน หรือรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม ใบอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป

ดอก : เดี่ยว หรือออกเป็นกระจุก 1-3 ดอก ตามง่ามใบและเหนือรอยแผลใบ กลีบดอกชุ้นในใหญ่และยาวกว่าชั้นนอกเล็กน้อย เกสรเพศผู้มีจำนวนมากล้อมรอบเกสรตัวเมียเป็นรูปวงกลม

ผล : ผลอ่อนสีเขียวปลายเป็นติ่ง แก่จัดเป็นสีแดงถึงสีดำ

ประโยชน์ : ผลรับประทานได้ มีรสหวาน พบสารต้าน HIV

สรรพคุณทางสมุนไพร : แก้พยาธิตัวจี๊ด ขับเมือกมันให้ลงทวารหนัก

  • ใบ : รสเปรี้ยว รับประทาน กัดเสมหะ ทำให้โลหิตไหลเวียนดี ช่วยย่อยอาหารขับปัสสาวะ ตำพอกฝี ต้มชะบาดแผล
  • กลีบเลี้ยง : รสเปรี้ยว ขับปัสสาวะ แก้เสหะขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ ขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ ขับเมือกมันให้ลงสู่ทวารหนัก
  • เมล็ด : รสเมา ขับเหงื่อ ลดไขมันในโลหิต บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นยาระบาย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
  • ผล รสจืด แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ลดไขมันในโลกหิต แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ไข่เต่า


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Polyalthia debilis

ไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร กิ่งอ่อนมาขนสีน้ำตาลปกคลุม

ใบ : เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปรี ปลายใบแหลมฐานใบสอบหรือมน เส้นใบ 12-14 คู่ ด้านหลังใบเป็นมัน ด้านท้องใบมีขนสีน้ำตาลปกคลุมตามเส้นใบ

ดอก : เดี่ยว หรือช่อกระจุก 2-3 ดอก ออกตรงข้ามใบหรือตามกิ่งและลำต้น

ผล : เป็นผลกลุ่ม รูปทรงกระบอก ผลย่อย 1-4 ผล ผลแก่สีเหลือง

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ดอก ไม้ประดับ ผลสุกรับประทานได้ มีรสหวาน

นิเวศวิทยา : พบกระจายทั่วไปในป่าดิบแล้งผสมเบญจพรรณในอุทยานฯ ดอกออกตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน