กฤษณา


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง มีเปลือกเรียบ เนื้อไม้หยาบอ่อน สีขาวมีเสี้ยน ใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เรียบเป็นมัน ดอกช่อเล็กๆ ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลีบดอกย่อย มี 5 กลีบ สีเหลืองงอมขาวดก กลิ่นหอมฉุน ผลแบนรูปรี เกิดอยู่ตามป่าดงดิบชื้น มีมากทางภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี, ตลาด, สระแก้ว ฯลฯ ปัจจุบันมีสวนเกษตรของเอกชน ทำการเพาะกล้าไม้กฤษณาขาย ราคาตั้งแต่ 24-300 ตามขนาดกล้า ไม้กฤษณาในปัจจุบันในประเทศมีน้อยมาก ต้องนำเข้าจากเขมร, ลาว, เวียดนาม กฤษณา ที่ใช้ปรุงยากันถ้าอย่างดีก็มีแก่นสารสีเข้มติดบ้างเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเนื้อไม้ที่มีสำน้ำตาลเข้มถึงดำกลิ่นหอมนั้นราคากิโลกรัมละหลายหมื่นบาทเราส่งนอกหมด เนื้อไม้หอกเกิดจาก การที่ต้น กฤษณาได้รับบาดเจ็บ อาจเกิดจากแมลงหรือการตัดฟัน ทำให้มีการขับสารน้ำมันหอมออกมาพอกตรงรอยบาดแฟลเมื่อนานเข้าจะหนาขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้เปลี่ยนจากเนื้อไม้ที่เบา หนักมากขึ้น บางต้นเกิดเป็นแท่งใหญ่บางต้นไม่มีเลย ต้นกฤษณาตามธรรมชาติ ไม่ได้ให้เนื้อไม้หอมเหมือนกันทุกต้น สมัยก่อนมีการตัดฟันต้นกฤษณาทิ้งไว้ค้างปี เมื่อเนื้อไม้ผุจะมาเก็บหาเนื้อไม้หอมไปขาย ชาวฮินดูนิยมนำมาจุดไฟให้กลิ่นหอม

ใบ : เดี่ยวรูปรีหรือรูปไข่กลับ โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ใบเป็นมัน

ดอก : มีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง สีขาว ยามออกดอกตกเต็มต้น ให้กลิ่นหอมฉุนมาก

ผล : รี ปลายมน เปลือกแข็ง

เนื้อไม้ : สีขาวนวล ไม่มีกลิ่นหอม ต่อเมื่ออายุของต้นกฤษณามากกว่า 20 ปีขึ้นไปจึงเกิดเชื้อราขึ้นในเนื้อไม้ ทำให้ไม้มีสีเข้ม และเมื่ออายุของต้นกฤษณาถึง 50 ปีเมื่อไร เมื่อนั้นจะได้กลิ่นหอมของกฤษณาทั้งต้น

วิธีการปลูกและดูแลรักษา : กฤษณามักขึ้นตามที่ชุ่มชื้นในป่าดงดิบ ตามแนวป่า ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มากเหมือนผลไม้ แต่กว่าจะโตจนนำมาใช้ประโยชน์และผลิตสารหอมได้ต้องใช้เวลานานอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป

ชื่อวงศ์ : Thymelaeaceae

สรรพคุณทางสมุนไพร : เนื้อไม้ ที่มีคุณภาพดีต้องมีกลิ่นหอม เนื้อไม้เป็นสีดำเข้ม จึงนำมาใช้ทำยาแก้อาเจียน ท้องร่วง วิงเวียนศีรษะ แก้กระหายน้ำ แก้ปวดตามข้อ แก่นไม้ ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต รักษาโรคลม หน้ามืด บำรุงตับและปอดให้แข็งแรง เมล็ด นำมาสกัดน้ำมัน แก้โรคมะเร็ง โรคเรื้อน คนในแถบมลายูใช้ไม้กฤษณาหอมเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและใช้รักษาโรคผิวหนังหลายชนิด ชาวฮินดูใช้ผงไม้หอมกฤษณาโรยบนเสื้อผ้าหรือบนร่างกายเพื่อฆ่าหมัดและเหา ตำราจีน กฤษณาจัดเป็นยาชั้นดี บำรุงหัวใจ แก้หอบหืด เสริมสมรรถภาพทางเพศ แก้โรคปวดบวมตามข้อ รักษาโรคกระเพาะอักเสบ ขับลม ชาวยุโรปใช้ไม้กฤษณามาปรุงแต่งทำน้ำหอม ชาวอาหรับนิยมใช้น้ำมันหอมจากกฤษณาทาตัวเป็นเครื่องประทินผิว ป้องกันแมลงกัดต่อย ส่วนกากที่เหลือนำไปทำธูปหอมหรือยาหอม

ต้นไม้สัญลักษณ์ : คำว่า “กฤษณา” มีความหมายเกี่ยวข้องถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องสูงและเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เนื่องจากเป็นชื่อชายาของปาณฑพทั้งห้าในมหากาพย์ มหาภารตยุทธ บางตำรากฤษณาหรือกฤษณะยังหมายถึง “ดำ” และมีความหมายถึงชื่อของพระกฤษณะ กฤษณาเป็นไม้พื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ไม้กฤษณาเป็นไม้เนื้อหอมที่เลื่องชื่อในบรรดาพรรณไม้หอมทั้งหมดและมีคุณภาพดีที่สุด คือ สีดำสนิท หนัก และจมน้ำ เมื่อเผาแล้วเกิดกลิ่นหอม สูดดมแล้วเกิดกำลังวังชา และถือเป็นไม้มงคงในพิะ๊กรรมของศาสนาอิสลาม ในสุเหร่าหรือตามบ้านอภิมหาเศรษฐี หรือใช้ต้อนรับแขกพิเศษ

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด นำเมล็ดที่เก็บมาใหม่ๆ เพาะในกระบะทรายโดยเอาหัวขึ้น รดน้ำเช้า – เย็น เมล็ดจะงอกใน 1-2 สัปดาห์ การงอกของเมล็ดจะงอกได้ดี เมื่อเพาะเก็บมาไม่เกิน 1 สัปดาห์ และจะลดลงไปเรื่อยๆ อาจไม่งอกเลย ในระยะ 1 เดือน เมื่อกล้าไม้โตพอควร จึงย้ายลงถุงย้ายไปไว้ในเรือนเพาะชำที่มีแดดรำไร เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้วย้ายไปปลูก หรือเปลี่ยนถุงชำตามขนาดของกล้า เก็บไว้ปลูก การปลูกจะต้องเตรียมดินให้สามารถรักษาความชื้นไว้ได้ดี เพราะกฤษณา เป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้นแต่ไม่แฉะ ระยะต้นห่างกันประมาณ 2-4 เมตร และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

บุหรง


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Dasymaschalon blumei Finet & Gagnep

ไม่พุ่มไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 6 เมตร เรือนยอดแน่นทึบ ลำต้นเปลาตรงแตกกิ่งก้านต่ำ เปลือกนอกเรียบสีเทา เปลือกในสีน้ำตาลอมแดง

ใบ : เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปไข่กลับ หรือรูปหอก มีขนาด 4-8 x 8-22 ซม. มีกลิ่น ไม่มีหูใบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นหรือหยักโค้งเล็กน้อย ปลายใบแหลม ฐานใบมนและเว้าเล็กน้อย ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีขาวนวล เส้นแขนงใบ 10-12 คู่ ก้านใบยาว ประมาณ 0.4 ซม.

ดอก : ออกเดี่ยว ๆ ที่ง่ามใบ ดอกห้อยลง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาด 4-6 x 4-5 มม. สีเขียว มีขนสั้นสีขาวปกคลุม กลีบดอก 3 กลีบ ขอบกลีบเชื่อมติดกันตลอดแนว กลีบบิดเวียนสีเหลือง เกสรเพศผู้สีชมพูอ่อน ขนาดเล็กจำนวนมากอัดเป็นวงกลม ล้อมรอบเกสรเพศเมีย ก้านดอกยาว 2-2.5 ซม.

ผล : แบบผลกลุ่ม จำนวน 10-15 ผลย่อย ออกจากจุดเดียวกัน แต่ละผลคอดเว้า 1-6 ข้อ ผลแก่มีสีแดง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปขอบขนานสีน้ำตาลขนาด 0.4 x 0.6 มม.

ระยะเวลาออกดอก ออกผล เดือนมีนาคม – กันยายน

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ประโยชน์ : ดอกสวยงาม สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี ผลเป็นอาหารให้กับสัตว์ป่า ปัจจุบันหรงจัดเป็นพืชหายาก

กะโมกเขา, ลาโมก


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Sageraea elliptica (A.DC.) Hook.f. & Thomson

ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูง 15-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ เปลือกนอกแตกเป็นสะเก็ดและร่อนสีเทาอ่อน เปลือกในมีสีเหลือง สลับขาว มีรูป อากาศขนาดเล็กกระจายอยู่ประปราย กิ่งแก่เรียบสีน้ำตาลไหม้กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม เปลือกและใบมีกลิ่นฉุน

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงสลับอยู่ในระนาบเดียวกัน ไม่มีหูใบ ใบรูปขอบขนาน หรือรูปหอกแกมรูปขอบขนาน ขนาด 5-10 x 20-30 ซม. ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบมนถึงเรียวแหลม ฐานใบมน เส้นแขนงใบ 14-16 คู่ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน หลัง ใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบยุบลงเห็นเป็นร่อง ก้านใบเมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลไหม้ และมีรอยควั่น ก้านในยาว 0.5-0.8 ซม.

ดอก : มีขนาดเล็กสีเหลืองอมเขียว ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุก 2-6 ดอก ตามบริเวณกิ่งหรือลำต้น ก้านดอกยาวประมาณ 0.5 ซม. กลีบดอก 6 กลีบ เรียงสลับเป็น 2 ชั้นละ 3 กลีบ รูปไข่งองุ้มคล้ายช้อน กว้างประมาณ 0.6 ซม. ยาวประมาณ 1 ซม. กลีบชั้นในเล็กกว่าชั้นนอกเล็กน้อย

ผล : สดหลายเมล็ด ออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-7 ผล รูปกลมรีขนาด 2.5-3 ซม. ผิวเรียบ สีเหลืองอมเขียว ภายในมี 4 เมล็ด ก้านผลยาวประมาณ 2 มม.

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ประโยชน์ : เนื้อไม้ทำเครื่องมือการเกษตร เครื่องเรือน และเครื่องใช้อื่นๆ ปัจจุบันกะโมกเขาจัดเป็นพืชหายาก

อโศกเซนคาเบรียล, อโศกอินเดียว (Asoke Tree, Asoka, Mast Tree)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Polyalthia longifolia (Benth.) Hook.f.

ไม่ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร

ใบ : เดี่ยว เรียงสลับใบรูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น

ดอก : ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ หรือตามกิ่ง ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกสีเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม

ผล : เป็นผลกลุ่ม สีเขียว เมื่อสุกสีดำ

คุณค่าทางภูมิสถาปัตยกรรม : ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดรูปกรวยคว่ำหรือรูปทรงกระบอก แน่นทึบ แตกกิ่งลู่ลง นิยมปลูกเป็นแถวเพื่อเป็นไม้ประดับและไม้กันลมตามริมรั้วและขอบสนาม

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ประโยชน์ : น้ำคั้นจากใบใช้กำจัดลูกน้ำยุง

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในอินเดียวและศรีลังกา นำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับได้ทั่วประเทศ ควรปลูกในที่มีแสงแดดตลอดวัน ขึ้นได้ดีดินทั่วไป

หางนกยูงฝรั่ง (Flame Tree, Peacock Flower)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Delonix regia (Bojer ex Hook.) Raf.

ไม่ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเรียบ

ใบ : ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ มีใบย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก

ดอก : ออกเป้นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีแสด แดงหรือเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน

ผล : เป็นฝักแบน แข็ง กว้าง 3-5 ซม. ยาว 30-60 ซม. เมื่อแก่สีดำ

คุณค่าทางภูมิสถาปัตยกรรม : ไม้โตเร็ว เรือนยอดแตกกิ่งแผ่กว้างคล้ายร่ม ออกดอกพร้อมแตกใบอ่อน เป็นพืชที่ชอบแสงและต้องการพื้นที่กว้างในการเจริญเติบโตปลูกประดับสวนและอาคารได้ดี ให้ดอกสวยงาม ไม่เหมาะสำหรับปลูกริมถนนและลานจอดรถเพราะฝักมีขนากใหญ่อาจสร้างความเสียดายได้

ชื่อวงศ์ : Leguminosae – Caesalpinioideae

ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกมีความสวยงาม

ต้นไม้สัญลักษณ์ : เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์น มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพ

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสการ์ ชอบแสง ขึ้นได้ดีในดินทั่วไปที่ระบายน้ำได้ดี

สาเก, ขนุนสำปะลอ (Bread Fruit, Bread Nut)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Artocarpus altilis (Parkinson) Fosberg

ไม่ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลปนเทาทุกส่วนที่มีชีวิตมีน้ำยางสีขาว

ใบ : เดี่ยว ขนาดใหญ่ เรียงเวียน ขอบใบหยักเป็นแฉกลึก 5 ถึง 11 แฉก หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบมีขน ใบอ่อนมีหูใบขนาดใหญ่หุ้ม

ดอก : แยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน เกิดตามซอกใบ ดอกเพศผู้เป็นช่อรูปกระบองยาว 20-30 ซม. ดอกเพศเมียเป็นช่อกลม ออกดอกตลอดปี

ผล : เป็นผลรวม สีเขียวอมเหลือง รูปร่างค่อนข้างกลมหรือกลมรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-20 ซม. ผิวเปลือกมีหนามสั้น ๆ ปกคลุม คุณค่าทาง

ภูมิสถาปัตยกรรม : เรือนยอดเป้นพุ่มแผ่กว้าง ปลูกเป็นไม้ผลและไม้ให้ร่มตามริมถนนและตามอาคารบ้านเรือน

ชื่อวงศ์ : Moraceae
ประโยชน์ : ผลนำมาเชื่อกินเป็นของหวาน หรือกินสุกเป็นผลไม้ เมล็ดต้มหรือย่างกินได้ น้ำยางใช้ยาเรือแคนู

สรรพคุณทางสมุนไพร : น้ำคั้นจากใบเป็นยาลดความดันแก้โรคหืด เนื้อสาเกมีพลังงานสูง ให้แคลเซียมและวิตามินเอจำนวนมาก ช่วยป้องกันโรคหัวใจและกระดูกพรุน

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

นิเวศวิทยา : เป็นพื้นพื้นเมืองของมาเลเซีย อินโดนิเซีย และหมู่เกาะต่าง ๆ ในแปซิฟิกใต้ ควรปลูกในที่แสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินทุกประเภท

สนทะเล (Queensland Swamp Oak, Beefwood, Sea Oak)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Casuarina equisetifolia J.R. & G.Forst

ไม่ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 50 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา เรียบถึงแตกเป็นร่องตื้น หรือลอกเป็นแผ่นเล็ก ๆ

ใบ : เดี่ยว เรียงรอบข้อตามกิ่งสีเขียวซึ่งดูคล้ายใบ ใบเป็นเกล็ดคล้ายหนามรูปสามเหลี่ยม สีขาวอมเขียว

ดอก : แยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้เกิดเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลแดงออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม และกรกฏาคม-กันยายน

ผล : ขนาดเล็ก ผิวแข็งเรียงชิดกันคล้ายลูกตุ้ม ยาว 1-1.5 ซม. เมื่อแก่แล้วแตกออกเป็น 2 ฝาตามรอยประสานภายในมี 1 เมล็ด คุณค่าทาง

ภูมิสถาปัตยกรรม : เรือนยอดรูปกรวยคว่ำหรือไม่มีรูปทรงที่แน่นอน แตกกิ่งเป็นมุมป้านหรือตั้งฉากกับลำต้น ปลายกิ่งลู่ลง ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่ม หรือปลูกเป้นแถวเพื่อกันลม

ชื่อวงศ์ : Casuarinaceae

ประโยชน์ : ลำต้นใช้ทำเสาเข็มสะพาน เสาสะพาน และใช้ในการก่อสร้าง เปลือกทำสีย้อมให้สีน้ำตาลแกมแดง

การขยายพันธุ์ : ปักชำกิ่งและเพาะเมล็ด

นิเวศวิทยา : พบขึ้นตามป่าชายหาดบริเวณริมทะเล ขึ้นได้ดีในดินทรายและแสงแดดจัด

ศรีตรัง (Jacaranda, Blue Jacaranda)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Jacaranda fillicifolia (Anderson) D.Don

ไม่ต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นสีเทาปนน้ำตาลอ่อนค่อนข้างขรุขระหรือแตกเป็นสะเก็ด

ใบ : ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบย่อยมีขนาดเล็ก รูปขอบขนานหรือรูปดาบ

ดอก : ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือเป็นกระจุกตามกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีน้ำเงินอมม่วง ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม

ผล : เป็นฝักแบน รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 2-4 ซม. เมื่อแก่แตกออกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก

คุณค่าทางภูมิสถาปัตยกรรม : เรือนยอดโปร่ง มีรูปทรงไม่แน่นอน มักปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง ให้ดอกสวยงามมาก

ชื่อวงศ์ : Bignoniaceae

ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ

ต้นไม้สัญลักษณ์ : เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี

พิกุล (Bullet Wood, Indian Meadller)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi L.

ไม้ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ไม้โตช้า เรือนยอดกลมหรือรูปไข่ แน่นทึบ เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ให้ร่มตามอาคาร สวนสาธารณะ ริมถนนและเกาะกลางถนน

ใบ : เดี่ยว เรียงสลับ ในรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 2-7 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลมขอบใบเป็นคลื่น หลังใบสีเขียวเข้ม เกลี้ยงเป็นมัน

ดอก : ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมีขนสีน้ำตาลปกคลุม กลีบดอกสีขาวหรือสีครีม มีจำนวนมาก เรียงซ้อนกันสองชั้น เกสรเพศผู้ เชื่อมติดกันเป็นรูปโดม

ผล : รูปไข่เมื่อสุกสีส้มแดง ออกดอกและเป็นผลตลอดปี

ชื่อวงศ์ : Sapotaceae

ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ผลสุกกินได้

สรรพคุณทางสมุนไพร : รากเป็นยาบำรุงกำลัง น้ำคั้นจากใบเป็นยาหยอดแก้เจ็บตา ดอกใช้ปรุงเป้นน้ำหอมประพรมร่างกายหลังอาบน้ำ ดอกแห้งใช้ทำยานัตถุ์และเป็นยาแก้ไข

ต้นไม้สัญลักษณ์ : เป็นตัวไม้ประจำจังหวัดลพบุรี

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

นิเวศวิทยา : ขึ้นตามป่าดิบชื้น ขึ้นได้ดีในดินร่วน และควรปลูกในที่แดดจัด

ไทรย้อย (Maclelland Fig)



 

 

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Ficus maclellandii king

ไม่ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-25 เมตร เปลือกต้นสีเทาปนน้ำตาล เปลือกเรียบและมีช่องอากาศกระจายทั่วไป ทุกส่วนที่มีชีวิตมีน้ำนางสีขาวคล้ายน้ำนม

ใบ : เดี่ยวเรียงเวียน รูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายใบเรียวแหลมแผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม ปลายกิ่งมีหูใบเป็นติ่งแหลม

ดอก : ขนาดเล็ก แยกเพศ ติดอยู่ภายในฐานรองดอกที่มีรูปร่างคล้ายผล ไม่มีกลีบดอก ออกดอกเกือบตลอดปี

ผล : เป็นหน่วยผล เกิดตามซอกใบ รูปร่างค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 0.5-1 ซม. ผิวหน่วยผลมีขนสั้นๆ กระจายทั่วไป ผลสีเขียวและเปลี่ยนเป็นเหลืองและแดงเมื่อแก่ คุณค่าทาง

ภูมิสถาปัตยกรรม : เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นแผ่กว้าง มีรากอากาศห้อยย้อยตามกิ่งและลำต้น นิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาตามริมถนนและตามสวนสาธารณะมีปัญหาเรื่องรากชอนไชพื้น

ชื่อวงศ์ : Moraceae

ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับและทำบอนไซ

สรรพคุณทางสมุนไพร : ราก แก้ปวด แก้ฝีพุพอง แก้นิ่ว, รากอากาศ แก้ขัดเบา ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย), เปลือกของลำต้น สมานแผล ท้องเดิน แก้บวม ทาแผลฟกช้ำ ดอก แก้ท้องเสีย แก้บวม, ผล แก้ท้องเสีย แก้ฝีพุพอง, ยาง ฆ่าพยาธิ ใส่บาดแผล แก้มะเร็ง

ต้นไม้สัญลักษณ์ : เป็นต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานคร และมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ และคนไทยเชื่อว่า ปลูกต้นไทรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข จนมีคำโบราณกล่าวว่า “ร่มโพธิ์ร่มไทร” นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันคุ้มครองภัยอันตรายทั้งปวงเพราะบางคนเชื่อว่าต้นไทรเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยพิทักษ์คุ้มครองปวงชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัยควรปลูกต้นไทรไว้ทางทิศตะวันตก และผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะเชื่อว่าการปลูกต้นไม้เพื่อเอาประโยชน์ทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

การขยายพันธุ์ : ปักชำ และเพาะเมล็ด

นิเวศวิทยา : พบได้ในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าเขาหินปูนควรปลูกในที่แสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป