ไก่ไห้

ชื่ออื่น: งัวเลีย (อีสาน), กระจิก (กลาง), กระโปรงแจง (สุโขทัย), ก่อทิง (ชัยภูมิ), ไก่ไห้ (พิษณุโลก), โกโรโกโส, หนามเกาะไก่, หนามนมวัว (โคราช), งวงช้าง (อุดร), ทะลุมอิด (นครสวรรค์), หนามไก่ไห้

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Capparis flavicans Kurz.

ชื่อวงศ์: CAPPARIDACEAE

เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 2-7 ม. กิ่งก้านสาขามาก มีหนามตามข้อ

ใบ: ใบรูปไข่

ดอก: ดอกเดี่ยว สีเหลือง ออกตามง่ามใบ ก้านชูเกสรตัวผู้ยาว สีเหลืองเขียว

ผล: ทรงกลม ตะปุ่มตะป่ะ สีส้ม เมล็ดมีเนื้อสีเหลืองหุ้ม

สรรพคุณ

  • ใบ รสจืด ขับน้ำนม
  • เนื้อไม้ รสจืด ต้มหรือดองสุราดื่ม แก้เส้นเอ็นแข็งตึง ใช้ควันสูดดม แก้วิงเวียน ศีรษะ

การขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะทั่วไป

กาสามปีก



ชื่ออื่น: กาสามปีกเล็ก, ลิ่นต้น (กลาง), เกล็ดปลาช่อน (สระบุรี), เกล็ดลิ่น (ใต้), หญ้าสองปล้อง, เกล็ดลิ่นใหญ่ (โคราช)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Phyllodium (Benth.) Desv.

ชื่อวงศ์: FABACEAE

เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-3 ฟุต

ใบ: ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบรูปหอกเรียว ปลายแหลมเหมือนใบถั่วแระ กว้าง 2-3 นิ้ว ยาว 4-5 นิ้ว

ดอก: ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบ ใบประดับคล้ายเกล็ดปลา ทางกลมมนเล็กๆ 2 ใบ ประกบไว้กางออกตั้งฉากกับก้านตรงข้ามกัน เนื้อบางสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีขาวคล้ายดอกถั่ว

ผล: เป็นฝักแบนเล็กๆยาวคอดเป็นข้อๆ

นิเวศวิทยา: เกิดตามป่าเขา

สรรพคุณ:

  • ใบ รสจืด ต้มดื่มแก้ไอ แก้ไขปัสสาวะพิการ ไข้จับสั่น
  • ราก รสจืดเฝื่อน ตำพอกแก้ปวด แก้เคล็ดบวม