กระทุ่มเลือด


เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นเหมือนกระทุ่มใหญ่

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ยาวประมาณ 10 ซม.

ดอก : ช่อดอกย่อยทรงกลม คล้ายดอกกระถิน สีเหลืองปลายขาว เมื่อสับดูที่เปลือก จะมีน้ำยางสีแดงเหมือนเลือด

สรรพคุณทางสมุนไพร : เปลือก รสฝาดร้อน ฆ่าพยาธิ แก้บาดแผลมีเชื้อ แก้มะเร็งคุดทะราด แก้บิดมูกเลือด

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธ์ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยา : เกิดอยู่ตามป่าดิบเขา และ ป่าเบญจพรรณ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

กระท่อม


ชื่ออื่น : อีถ่าง, กระทุ่มโคก, ท่อม, กระทุ่มพาย (ใต้)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Mitragyna speciosa Benth.

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร

ใบ : เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ปลายแหลม คล้ายใบกระดังงาไทย มีทั้งชนิดสีแดง และสีเขียว

ดอก : ช่อดอกอัดแน่นทรงกลม คล้ายดอกกระถิ่น มีเกสรคล้ายดอกกระถิน สีเหลืองแก่ พบมากภาคใต้และภาคกลาง เป็นพืชเสพติดให้โทษ

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • ใบ รสขมเฝื่อนเมา แก้บิด ปวดเบ่ง แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ระงับประสาท ทำให้ทนต่อแสงแดด แต่แพ้อากาศครื้มฟ้าครื้มฝน จะหนาวสั่น ทำให้ก้าวร้าว ดุดัน

พิษ : เป็นยาเสพติด ทำให้รู้สึกสบาย ขยันว่องไว ทำงานได้นานๆ โดยไม่สนใจแดดแตะจะกลัวฝน เมื่อเสพไปนานๆ จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวดำเกรียม โดยเฉพาะที่บริเวณโนกแก้มทั้งสองข้าง น้ำลายแห้ง ปัสสาวะบ่อย ท้องผูกอุจจาระสีดำ เป็นก้อยคล้ายขี้แพะ จิตสับสน ประสาทหลอน ใช้เกินขนาด จะทำให้มึนงง คอแห้ง มึนเมา อาเจียน ถ้าติดยาแล้วหยุดทันที จะทำให้มีอาการ น้ำมูกไหล เจ็บตามกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อแขนขากระตุก ก้าวร้าว

กราย


ชื่ออื่น : ขี้อาย (เหนือ), หางกาย, หนามกราย, หนามกราย (โคราช), แนอาม (เหนือ), ตานแดง (ใต้), แสนคำ (อีสาน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Terminalia triptera Stapf.

ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง

ใบ : เป็นใบเดี่ยว สีเขียวทึบ

ดอก : เป็นช่อ อยู่ปลายกิ่ง

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • รสฝาด กล่อมเสมหะ กล่อมอาจม คุมธาตุ แก้อุจจาระเป็นพอง สมานบาดแผล
  • ลูก รสฝาด แก้บิด ปวดเบ่ง เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องเดิน

นิเวศวิทยา : เกิดตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไปในภาคกลาง, อีสานและเหนือ

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือตอนกิ่ง