กระทุ่มเลือด


เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นเหมือนกระทุ่มใหญ่

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ยาวประมาณ 10 ซม.

ดอก : ช่อดอกย่อยทรงกลม คล้ายดอกกระถิน สีเหลืองปลายขาว เมื่อสับดูที่เปลือก จะมีน้ำยางสีแดงเหมือนเลือด

สรรพคุณทางสมุนไพร : เปลือก รสฝาดร้อน ฆ่าพยาธิ แก้บาดแผลมีเชื้อ แก้มะเร็งคุดทะราด แก้บิดมูกเลือด

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธ์ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยา : เกิดอยู่ตามป่าดิบเขา และ ป่าเบญจพรรณ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

กระท้อน(Yellow Sentol)


ชื่ออื่น : สะท้อน, หมากต้อง (อีสาน), สะโต, สะตู (ใต้)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Sandoricum nervosum Car.

ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่

ใบ : ใบประกอบ มีใบย่อยขนาดใหญ่ 3 ใบ ใบแก่สีแดง

ดอก : ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อ

ผล : ผลทรงกลมสีเหลืองเปลือกหนา

เมล็ด : มีเนื้อสีขาวหุ้มเมล็ด

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • ใบ รสเปรี้ยวเย็นฟาด ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
  • เปลือกต้น รสเปรี้ยวเย็นฟาด รักษาโรคผิวหนัง
  • เปลือกผล รสเปรี้ยวเย็นฟาด เป็นยาสมาน
  • ราก รสเปรี้ยวเย็นฟาด แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้รากสาด

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและกิ่งตอน

นิเวศวิทยา : เกิดตามป่าในเขตร้อนทั่วไป

กระดังงา


ชื่ออื่น : กระดังงาไทย, กระดังงาใหญ่, สะบันงา (เหนือ)

ชื่ออังกฤษ : Perfume Tree, Llang-Llang, Ylang, Kenanga

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata (Lam.) Hooker f. & Thoms.

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เปลือต้นสีเทาเกลี้ยง

ใบ : คล้ายใบของต้นเล็บมือนาง สีเขียวอ่อนบางนิ่มปลายแหลมโคนมนกลม

ดอก : เป็นกลีบยาวอ่อน มี 6 กลีบ ขอบหยักเป็นคลื่น กลีบชั้นในสั้น ดอกอ่อนสีเขียว พอแก่จะเป็นสีเเหลืองอ่อนกลิ่นหอมฉุน

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ท้องเสีย
  • เนื้อไม้ รสขมเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ
  • ดอก รสหอมสุขุม บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ
  • น้ำมันหอม ใช้ปรุงน้ำหอมชั้นสูงที่มีราคาแพง ใช้ปรุงขนมและอาหาร

กราย


ชื่ออื่น : ขี้อาย (เหนือ), หางกาย, หนามกราย, หนามกราย (โคราช), แนอาม (เหนือ), ตานแดง (ใต้), แสนคำ (อีสาน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Terminalia triptera Stapf.

ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง

ใบ : เป็นใบเดี่ยว สีเขียวทึบ

ดอก : เป็นช่อ อยู่ปลายกิ่ง

สรรพคุณทางสมุนไพร :

  • รสฝาด กล่อมเสมหะ กล่อมอาจม คุมธาตุ แก้อุจจาระเป็นพอง สมานบาดแผล
  • ลูก รสฝาด แก้บิด ปวดเบ่ง เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องเดิน

นิเวศวิทยา : เกิดตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไปในภาคกลาง, อีสานและเหนือ

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือตอนกิ่ง

 

ติ้วเกลี้ยง


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Bl.

ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)

ไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 30 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีเหลือง ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมปกคลุมห่าง ๆ

ใบ : รูปรืออกตรงข้ามกัน แผ่นใบบาง ยอดใบอ่อนมีสีแดงเรื่อ หลังผลัดใบจะผลิดอกเป็นกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่วงฤดูฝน

ดอก : กลีบดอกมี 5 กลีบ สีชมพูอมแดง มีเกสรเพศผู้จำนวนมากและกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลเมื่อแก่จะแตกออกเป็น 3 พูด

เมล็ด : มีปีกบาง ๆ

ประโยชน์ : ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ หรือใส่ในซ่าผักของชาวเหนือรสฝาดมัน มีมากในฤดูร้อน แต่เป็นคนละชนิดกับผักติ้วที่มีใบมันรสเปรี้ยว

สรรพคุณทางสมุนไพร : ด้านสมุนไพร ต้นและรากนำมาผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น ต้มน้ำดื่มแก้กระษัย และเป็นยาระบาย ใบและยอดอ่อนมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ เนื้อไม้ใช้ทำฟืน

การขยายพันธุ์ : ติ้วเกลี้ยงชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดดจัดชอบอากาศเย็น ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เป็นพืชที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จึงเหมาปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะให้ดอกสวย มีกลิ่นหอม

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในธรรมชาติพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้นทุกภาคของไทย

มะไฟ (Burmese grape)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Baccaurea ramiflora Lour.

เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15 เมตร

ใบ : รูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลม ออกเวียนสลับรอบกิ่ง

ดอก : ช่อดอกออกเป็นกระจุกตามกิ่ง ห้อยลง ดอกชีชมพูอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลิบานช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม

ผล : ค่อนข้างกลม ก้านช่อผลสีแดงเรื่อ เมื่อสุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดนุ่ม

เมล็ด : สีชมพู

ชื่อวงศ์ : Phyllanthaceae

ประโยชน์ : ชาวใต้นิยมกินผลอ่อนสีเขียวทั้งผลเป็นผักกับน้ำพริกและอาหารรสจัดต่าง ๆ รสเปรี้ยวอมฝาด ส่วนผลสุกกินเป็นผลไม้พื้นบ้าน รสเปรี้ยวอมหวาน มีมากในช่วงฤดูร้อนเท่านั้น ปัจจุบันมีสองพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า มีรสหวานอมเปรี้ยว คือ พันธุ์ไข่เต่า และพันธุ์เหรียญทอง ให้รสหวานกว่าพันธุ์พื้นบ้าน

สรรพคุณทางสมุนไพร : มีสรรพคุณช่วยลดความดันเลือดและลดอุณหภูมิของร่างกาย รากแก้วัณโรค แก้ไข้ เริม และแผลพุพองอื่น ๆ ใบแก้กลากเกลื้อน ขับพยาธิ ดอกและผลช่วยถอนพิษไข้และขับระดู

การขยายพันธุ์ : มะไฟชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดดตลอดวัน ชอบอากาศเย็น ความชื้นในอากาศสูง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด นิยมปลูกเป็นไม้ผลในสวนหลังบ้าน ให้ร่มเงาได้ดี

นิเวศวิทยา : กระจายพันธุ์แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบตามป่าดิบชื้นและป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาค

มะดัน (Garcinia schomburgkiana Pierre)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia schomburgkiana Pierre.

เป็นประเภทไม้ยืนต้น อายุหลายปี เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม

ใบ : รูปขอบขนาน ออกตรงข้ามกัน สีเขียวเข้มเป็นมัน

ดอก : ออกตามซอกใบ มีทั้งดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศในต้นเดียวกัน สีชมพูเรื่อ มีกลีบดอก 4 กลีบ ผลิบานในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน และช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม

ผล : รูปรี สีเขียวเป็นมันฉ่ำน้ำ เมื่อสุกมีสีเหลืองอ่อน เนื้อนุ่ม ภายในมีเมล็ดรูปไข่แบน

ชื่อวงศ์ : GUTTIFERAE

ประโยชน์ : ยอดอ่อนมีรสเปรี้ยว กินเป็นผักสด ผลอ่อนใช้ปรุงอาหาร ให้รสเปรี้ยวแทนมะนาวหรือมะขามเปียก เช่น น้ำพริกมะดัน แกงส้ม ต้มยำ ยำต่าง ๆ หรือกินเป็นผลไม้จิ้มกับน้ำปลาหวาน กะปิ หรือนำมาแซ่อิ่ม ดองกินเป็นของว่างได้ มีมากช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม และเมษายนถึงมิถุนายน

สรรพคุณทางสมุนไพร : รากแก้ไข้ที่มีผื่นคัน แก้ร้อนใน เปลือกต้นแก้ท้องเสีย ห้ามเลือด หรือใช้ล้างแผล ยอดอ่อนและผลเป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยฟอกเลือด ขับเสมหะ แก้โรคลักปิดลักเปิด ส่วนรกมะดัน (คือกิ่งก้านที่แตกเป็นกระจุกเล็ก ๆ ใต้พุ่มใบ) นำมาตากแห้งชงน้ำดื่ม แก้หวัด แก้ไข้ทับระดู ช่วยฟอกเลือด กัดเสมหะ ตามตำรายาพื้นบ้าน ใช้เปลือกต้นผสมกับต้นเล็บแมว ตับเต่าโคก กำแพงเจ็ดชั้น รากส้มลม และต้นกะเจียน ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

การขยายพันธุ์ : มะดันชอบดินร่วน ระบายน้ำดี ชุ่มชื้น ตามริมน้ำ มีแสงแดดครึ่งวันถึงตลอดวัน ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นที่แตกจากรากมาปลูกใหม่ หรือเพาะเมล็ด แต่โตช้า มั่นตัดแต่งทรงพุ่มอยู่เสมอจะให้ทรงพุ่มที่สวยงาม

นิเวศวิทยา : กระจายพันธุ์ในแถบคาบสมุทรมลายู พบตามป่าดิบแล้งริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มชื้นในทุกภาคของไทย

ทุเรียน (Durio)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Belanda, Guanabana, Sour Sop

เป็นไม้ยืนต้นที่สูงได้ถึง 10 เมตร โคนต้นที่มีอายุมาก มักมีพูพอนขนาดใหญ่

ใบ : รูปรีเรียวแหลม แผ่นใบหนา ใต้ใบมีสีเหลือบเงิน

ดอก : ช่อดอกออกตาลำต้น เป็นกระจุกห้อยลง ดอกนานขนาด 2.5 ซม. กลีบดอกมี 4 กลีบ หนาแข็ง มีเกสรเพศผู้รวมกลุ่ม 5 กลุ่ม จำนวนมากและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ

ผล : รูปรี ขนาดใหญ่ ลีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม มีหนามแหลมปกคลุมจำนวนมาก เปลือกแข็งหนา เมื่อแก่จะแตกออกตามแนวสันพู ภายในมีเนื้อนุ่มห่อหุ้มเมล็ดแข็ง

ชื่อวงศ์ : Malvaceae

ประโยชน์ : นอกจากกินเป็นผลไม้แล้ว ดอกของทุเรียนยังนำมาต้มหรือลวกให้สุกกินกับน้ำพริก อาหารรสจัดต่าง ๆ บางคนก็นำมาซอยใส่ในไข่เจียวแกงส้ม แกงเลียง ก็อร่อยได้อีกเมนู ในช่วงปลายฤดูหนาวเข้าฤดูร้อน ปัจจุบันมีการนำทุเรียนอ่อนมาทำทุเรียนทอด หรือทุเรียนสุกงอมที่มีมากเกินไปนำมาทำทุเรียนกวน กินเป็นขนม เมล็ดนำมาคั่วกินได้อร่อย ไม่เบื่อ

การขยายพันธุ์ : ทุเรียนชอบดินร่วนชุ่มชื้อ ระบายน้ำดี อากาศเย็น ความชื้นในอากาศสูง มีแสงแดดครึ่งวันถึงตลอดวัน ทุเรียนปลูกมากในภาคตะวันออกและภาคใต้ ในอดีตจังหวัดนนทบุรีเป็นอีกแห่งที่มีพันธุ์ทุเรียนมากมาย เพราะมีสภาพพื้นที่เป็นเรือกสวนไร่นาและมีความชุ่มชื้น จังสามารถปลูกได้ดี แต่ปัจจุบันพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้ทุเรียนสูญพันธุ์ไปมาก

นิเวศวิทยา : มีการกระจายพันธุ์ในมาเลเซียและอินนีเซีย

ต้างหลวง (Snowflake plant)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Trevesia palmata (Roxb. ex Lindl.) Vis.

เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 20 เมตร ลำต้น กิ่งก้าน

ใบ : เส้นใบมีหนามแหลมปกคลุม ใบใหญ่ถึง 60 ซม. หยักเว้า 7 – 9 แฉก ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายใบแหลมสีเขียวเข้ม ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น

ดอก : ช่อดอกแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ยาว 30 – 4 ซม. ช่อย่อยเป็นช่อซี่ร่ม ดอกบานขนาดประมาณ 1.5 ซม. มีกลีบดอก 10 – 12 กลับ สีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอมมาก เกสรเพศผู้สีเหลือง เกสรเพศเมียมีฐานดอกสีเหลือง ผลิบานช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน

ผล : รูปกรวยกลม ขนาดประมาณ 1.5 ซม. หยักเว้าเป็นร่องตื้นๆ รอบผล แข็ง ภายในมี 1 เมล็ด

ชื่อวงศ์ : ARALIACEAE

ประโยชน์ : เป็นผักพื้นบ้านของชาวเหนือ โดยนำช่อดอกอ่อนมาต้มจิ้มน้ำพริกหรือใส่รวมกับผักอื่น ๆ ในแกงแค แกงปลาแห้ง มีรสขม เมื่อสุกมีรสหวานอมขม ช่วยให้เจริญอาหาร ให้แคลเซียม ฟอสฟอรัสและไนอะชินสูง มีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ปัจจุบันเป็นผักที่หากินได้ยาก และไม่ค่อยมีผู้รู้จักกันมากนัก เพราะป่าถูกทำลายไปมากจนเหลือต้นในธรรมชาติน้อยลง

การขยายพันธุ์ : ต้างหลวงชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดดครึ่งวัน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือขุดต้นที่แตกจากรากมาปลูกใหม่ได้ สามารถปลูกเป็นไม้ประดับในบ้านเพราะให้ร่มเงาได้ดีและดอกมีกลิ่นหอม แต่ควรระวังหนามที่ปกคลุมตามต้น

นิเวศวิทยา : พบตามป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วทุกภาคของไทย

ชะมวง


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Garcinia cowa Roxb. Ex DC.

เป็นไม้ยืนต้นที่สูงได้ถึง 15 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีเหลือง

ใบ : รูปรีแกมรูปขอบขนาน ออกตรงข้ามกัน ปลายใบแหลม ยอดอ่อนมีสีแดงเรื่อเป็นมัน

ดอก : กลีบดอกแข็ง มี 4 กลีบ สีเหลือง เป็นดอกแยกเพศ โดยดอกเพศผู้สีชมพูอมแดงออกเป็นกระจุก ส่วนกอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว ขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้เล็กน้อย เห็นยอดเกสรสีเหลืองเด่นชัด ผลิบานในเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน

ผล : กลมคล้ายมังคุด แต่มีขนาดเล็ก ประมาณ 3 ซม. เมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้มและแตกออกเป็นเสี้ยว มีเนื้อหนา รสฝาด

เมล็ด : มีเมล็ด 7 – 12 เมล็ด

ชื่อวงศ์ : GUTTTIFERACEAE

ประโยชน์ : เป็นผักพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่มีรสเปรี้ยว นิยมกินยอดอ่อนสีแดงเป็นผักสดกับป่น ลาบ แจ่ว หรือปรุงอาหาร เช่น แกหมูใบชะมวง ต้มยำไก่บ้านใส่ใบชะมวง ต้มส้ม หรือแกงอ่อน ให้วิตามินเอและวิตามินบี 1 ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังกินเป็นผลไม้ได้เล่นเดียวกับมังคุด แต่มีรสเปรี้ยว ชาวใต้จึงใช้ปรุงแกงส้มเช่นเดียวกับใบ

สรรพคุณทางสมุนไพร : รากมีรสเปรี้ยว ใช้แก้ไข้ ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยถอนพิษไข้ แก้บิด ขับเสมหะ ใบหรือน้ำยาแห้งจากลำต้นนำมาฝนกินเป็นยาระบาย แก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ ผลช่วยระบาย แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้กระหายน้ำ ฟอกเลือด นอกจากนี้ชาวใต้ยังนิยมนำผลและใบแก่มาหมักเป็นน้ำกรดสำหรับฟอกหนังวัวหนังควายที่ใช้ทำตัวหนังตะลุง ส่วนเปลือกต้นและน้ำยางสีเหลืองใช้เป็นสีย้อมผ้า

การขยายพันธุ์ : ชะมวงชอบดินร่วน ชุ่มชื้น ระบายน้ำดี มีแสงแดดครึ่งวันถึงตลอดวัน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง สำหรับต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะโตช้า ใช้เวลานานถึง 5 ปีกว่าต้นจะผลิดอกออกผลได้ส่วนต้นที่ได้จากการตอนกิ่งจะให้ผลผลิตเร็ว ปัจจุบันสามารถปลูกได้ในกรุงเทพฯ

นิเวศวิทยา : พบตามป่าดิบชื้นและป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย