พลู (Betel)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Piper betle Linn.

ชื่ออื่น พลูเคี้ยว, พลูบ้าน, เปล้าอ้วน ซีเก๊าะ (มลายู – นราธิวาส ), พลูจีน (ภาคกลาง)

พลูเป็นไม้เลื้อย เป็นประเภทไม้เนื้ออ่อน มีข้อและปล้องชัดเจน มีลำต้นเป็นเถา มีรากงอกตามปล้อง ที่ข้อมีรากสั้น ๆ ออกรอบข้อ เป็นลักษณะมือเกาะ มักนิยมทำจากไม้เสา ไม้ปักหลัก หรือปลูกขึ้นตามต้นไม้อื่น มีสองสายพันธุ์คือ พลูเขียวและพลูเหลือง เถาแก่ส่วนเหง้า เป็นสีเทาผิวขรุขระเป็นปล้องมีรากตามปล้อง เถากลางอ่อนกลางแก่ เรียกว่าเถาพอเพสลาด จะเป็นสีน้ำตาลปนเทา เถาอ่อนส่วนยอดจะเป็นสีน้ำตาลปนแดง ความโตของเถาส่วนเหง้าประมาณเท่าหัวแม่มือ นิ้วมือ ปากกา แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์

ใบ : เป็นใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ ลักษณะของใบแหลมคล้ายใบโพมีผิวใบมัน โกบมาด้านหน้าใบ ใบโต ปลายใบแหลม มีก้านใบยื่นออกจากปล้องเถาใบเดี่ยวรูปใบพลู มีดอกคล้ายดอกช้าพลู ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่สีเหลือง

รสกลิ่น : ราก ต้น ผล ใบ ดอก รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม-ร้อน

การปรุงยา : นำต้นชะพลูทั้งต้นล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 2 กำมือ ใส่น้ำลงประมาณ 4 แก้ว เคี่ยวจดงวดเหลือน้ำประมาณ 2 แก้ว ต้มเป็นยา นำมาดื่มเป็นยา

ชื่อวงศ์ : Piperaceae

ประโยชน์ : คนไทย คนลาว และคนพม่ามักนิยมนำมาเคี้ยวกับหมากและแก่นคูณ แต้มด้วยปูน สีฟันด้วยยาสูบ เคี้ยวปนสีเสียด จึงเป็นพืชที่คู่วัฒนธรรมท้องถิ่นโบราณ

สรรพคุณทางสมุนไพร : รสเผ็ดร้อนแก้ลมพิษ ลมในลำไส้ แต้มปูนต้มจิบแก้ไอ ตำผสมปูนพอกรอบหัวผีดูดหนอง พอกแผลสด ห้ามเลือด ตำดองสุราขาวหรือแอลกอฮอล์ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษ ปิ้งหรือลนไฟประคบลดอาการอักเสบแผลฟกช้ำ รักษาอาการโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ส่วนรากรักษาอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อย

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยการปักกิ่งชำ ใช้ลำดับต้น 3-5 ข้อ ปักชำจนรากงอกพอสมควร ย้ายกล้าปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ทำค้างให้เถาพลูเลื้อย คอยดูแลความชุ่มชื้นและควรอยู่ในที่แสงแดดรำไร กำจัดวัชพืชและศัตรูพืช จำต้องให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ เช่น 15 วันต่อครั้ง

นิเวศวิทยา : พลูถือว่าเป็นไม้ไทย หรือไม้เทศในเมืองไทย เพราะพบในประเทศไทย ลาว กัมพูชา