ถั่วพู (Winged bean)


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus (L.) DC.

เป็นไม้เลื้อย อายุหลายปี มีรากสะสมอาหารขนาดใหญ่

ใบ : มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่

ดอก : ช่อดอกผลิจากซอกใบ รูปดอกถั่ว สีขาวหรือม่วงอ่อน ภายในมีเมล็ดสีขาว สีน้ำตาลแถมเหลือง หรือสีดำ

ชื่อวงศ์ : Leguminosae

ประโยชน์ : รากสะสมอาหารกินเป็นผักสด นำมาประกอบอาหาร หรือเชื่อมกินเป็นขนม ยอดและช่อดอกอ่อนนำมาผัดน้ำมันหรือลวกจิ้มน้ำพริก กินกับส้มตำ ฝักอ่อนที่เมล็ดยังไม่แก่ เพราะเมล็ดแก่มีสารพิษที่ความมร้อนไม่สามารถทำลายได้ ซึ่งมีผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางนิดในร่างกาย

สรรพคุณทางสมุนไพร : ตำรายาไทยนำรากขนาดใหญ่มาหั่น คั่วให้เหลืองและชงน้ำดื่ม ช่วยบำรุงกำลังแก้ไข แก้ แก้อ่อนเพลีย ทำให้จิตใจ ชุ่มชื่น มีรสขมเล็กน้อย มีโปรตีน 8 – 10 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 30 เปอร์เซ็นต์ และแร่ธาตุสำคัญอีกหลายชนิด เมล็ดมีโปรตีนใกล้เคียงกับถั่วเหลือง มีกรดโอเลอิกและไอโนเลอิกใกล้เคียงกับถั่วลิสงใช้สกัดน้ำมัน ทำแป้งขนมปัง และทำน้ำนม ช่วยป้องกันมะเร็งและชะลอความแก่ นอกจากนี้ยังมีกรดอีรูซิก (erucic) ที่ใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด

การขยายพันธุ์ : ถั่วพูชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดจัด ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด โดยหว่านเมล็ดลงในพื้นที่ปลูก ประมาณ 7 – 10 วัน ต้นจะเริ่มงอก หลังปลูกประมาณ 75 วัน จะเริ่มออกดอก ติดผลเรื่อยไป ควรทำค้างให้เลื้อยพัน และดูแลอย่าให้มีแมลงเข้าทลาย โดยหมั่นรดน้ตามยอดและใต้พุ่มใบอยู่เสมอ

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันออก แถบเทือกเขาตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และปาปัวนิวกินี